วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ส่งงานจร้า: international organazation


ADB ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Development Bank - ADB)

ADB เป็นสถาบันการเงินเพื่อการพัฒนาแบบพหุภาคีที่อุทิศให้กับการลดความยากจนใน ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2509 ปัจจุบันธนาคารมีสมาชิก 63 รายเป็นเจ้าของ ส่วนใหญ่เป็นภาคีในภูมิภาคนี้


หัวหน้าหน่วยงาน: นายเคร็ก สเตฟเฟนเซน
ผู้อำนวยการประจำประเทศไทย
ที่อยู่: 999/9 อาคารเซ็นทรัล เวิลด์ ชั้น 23 ถ. พระราม 1 ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 ประเทศไทย
โทรศัพท์: +66 2 263 5300
แฟกซ์: +66 2 263 5301
เว็บไซต์: www.adb.org

FAO องค์การเพื่ออาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization - FAO)

หัวหน้าหน่วยงาน:

นายฮิโรยูกิ โคนุม่า

ผู้ช่วยผู้อำนวยการ และตัวแทนภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก

ที่อยู่:

สำนักงานภูมิภาคประจำภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก

39 ถ. พระอาทิตย์ กรุงเทพฯ 10200 ประเทศไทย

โทรศัพท์: +66 2 697 4000
แฟกซ์: +66 2 697 4445
อีเมล์: FAO-RAP@fao.org
เว็บไซต์ FAO: www.fao.org
เว็บไซต์ RAP: www.fao.org/world/regional/rap

ICAO องค์การการบินพลเรือนสากล (International Civil Aviation Organization - ICAO)

ICAO กำหนดมาตรฐานและกฎข้อบังคับระหว่างประเทศที่จำเป็นสำหรับความปลอดภัย ความมั่นคง ประสิทธิภาพ และความสอดคล้องของการบิน รวมทั้งการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมที่ได้รับผลกระทบจากการบิน นอกจากนี้ ICAO ยังทำหน้าที่เป็นเวทีความร่วมมือในทุกแขนงของแวดวงการบินพลเรือนสำหรับชาติ สมาชิก 188 รัฐ

หัวหน้าหน่วยงาน: นาย มอคต้า เอ อาวาน
ผู้อำนวยการประจำภูมิภาค
ที่อยู่: 252/1 ถ. วิภาวดี-รังสิต ลาดยาว จตุจักร กรุงเทพฯ 10900 ประเทศไทย
โทรศัพท์: +66 2 537 8189
แฟกซ์: +66 2 537 8199
อีเมล: icao_apac@bangkok.icao.int
เว็บไซต์: www.icao.int/apac

IFC ความร่วมมือทางการเงินระหว่างประเทศ (International Finance Corporation - IFC)

IFC ส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชนแบบยั่งยืนในประเทศกำลังพัฒนา เพื่อลดปัญหาความยากจนและปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของประชาชน ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2499 IFC เป็นแหล่งเงินกู้และการระดมทุนในธุรกิจด้วยการออกหุ้นแบบพหุภาคีสำหรับ โครงการภาคเอกชนในประเทศกำลังพัฒนาที่มีขนาดใหญ่ที่สุด

หัวหน้าหน่วยงาน: นาย ไซมอน แอนดรูว์
ผู้จัดการประจำภูมิภาค (กัมพูชา ลาว ไทย และ ฟิลิปปินส์)
ที่อยู่: 989 อาคารสยาม ทาวเวอร์ ชั้น 30 ถ. พระราม 1 ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 ประเทศไทย
โทรศัพท์: +66 2 686 8300
แฟกซ์: +66 2 686 8379
เว็บไซต์: www.ifc.org

ILO องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization - ILO)

ILO ประสานความร่วมมือระหว่างรัฐบาล องค์กรของนายจ้างและลูกจ้าง จากชาติสมาชิก 178 รัฐสำหรับการดำเนินการร่วมกันในปรับปรุงการคุ้มครองทางสังคมและสภาพชีวิต ความเป็นอยู่และการทำงานทั่วโลก

หัวหน้าหน่วยงาน:

นาง ซาชิโก๊ะ ยามาโมโต้
ผู้อำนวยการประจำภูมิภาค

ที่อยู่: อาคารสหประชาชาติ ถ. ราชดำเนินนอก กรุงเทพฯ 10200 ประเทศไทย
โทรศัพท์: +66 2 288 1234
แฟกซ์: +66 2 288 1735
อีเมล: bangkok@ilo.org
เว็บไซต์: www.ilo.org




IOM องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration - IOM)

IOM มีพันธกรณีภายใต้หลักการที่ว่า การย้ายถิ่นที่มีมนุษยธรรมและเป็นระเบียบเรียบร้อยเป็นประโยชน์กับทุกคน

หัวหน้าหน่วยงาน:

นาย แอนดรูว์ โรเบิร์ต บรู๊ซ

ผู้แทนประจำภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

ที่อยู่: 183 อาคารรัจนาการ ชั้น 18 ถ. สาธรใต้ กรุงเทพฯ 10500 ประเทศไทย
โทรศัพท์: +66 2 343 9300
แฟกซ์: +66 2 286 0630
อีเมล: iombangkok@iom.int
เว็บไซต์: www.iom.int





สำนักงานสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศประจำภาคพื้นเอเซียและแปซิฟิค (International Telecommunication Union)


หัวหน้าหน่วยงาน:

นาง อุน จู คิม

หัวหน้าสำนักงานภูมิภาคประจำภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก

ที่อยู่:

89/2 ถนน แจ้งวัฒนะ

หลักสี่ กรุงเทพฯ 10210

โทรศัพท์: +66 2 574 9326/7
แฟกซ์: +66 2 574 9328
อีเมล: itubangkok@itu.or.th
เว็บไซต์: www.itu.int

OCIIA สำนักงานเพื่อการประสานงานด้านมนุษยธรรมแห่งสหประชาชาติ (Office for the Coordination of Humanitarian Affairs - OCHA)

OCHA ได้รับมอบอำนาจในการประสานงานการตอบสนองด้านมนุษยธรรม การพัฒนานโยบาย และการส่งเสริมมนุษยธรรมของสหประชาชาติ

หัวหน้าหน่วยงาน:

นายโอสิเวอร์ ลาซี่ย์ ฮอล

หัวหน้าสำนักงานภูมิภาคประจำภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก

ที่อยู่: สำนักงานภูมิภาคประจำภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก อาคารสหประชาชาติ ห้องเอ็กเซคคิวทีฟ สูท ชั้น 2 ถ. ราชดำเนินนอก กรุงเทพฯ 10200 ประเทศไทย
โทรศัพท์: +66 2 288 2611
แฟกซ์: +66 2 288 1043
เว็บไซต์: ochaonline.un.org/roap

UNAIDS สำนักงานโครงการโรคเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS)

หน่วยงานสำคัญที่มีบทบาทกระตุ้นให้มีการดำเนินการทั่วโลกเกี่ยวกับเอชไอ วี/เอดส์ UNAIDS เป็นผู้นำ สร้างความเข้มแข็ง และสนับสนุนการตอบสนองต่อการระบาดของโรคในวงกว้าง

หัวหน้าหน่วยงาน: นาย ไมเคิล ฮาน
ผู้ประสานงานโครงการโรคเอดส์แห่งสหประชาชาติในประเทศไทย
ที่อยู่: สำนักงานผู้ประสานงานสห ประชาชาติประจำประเทศ (ส่งต่อโดย UNDP) อาคารสหประชาชาติ ชั้น 12 ถ. ราชดำเนินนอก พระนคร กรุงเทพฯ 10200 ประเทศไทย
โทรศัพท์: +66 2 288 2612
+66 2 288 1203
แฟกซ์: +66 2 280 2701
เว็บไซต์: www.unaids.org




UNDP สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme - UNDP)

UNDP เป็นเครือข่ายการพัฒนาทั่วโลกของสหประชาชาติที่มีบทบาทส่งเสริมการเปลี่ยน แปลงและการเชื่อมโยงประเทศต่างๆ ด้วยความรู้ ประสบการณ์ และทรัพยากร เพื่อช่วยให้ประชาชนมีชีวิตที่ดีกว่า

หัวหน้าหน่วยงาน:

นาง กวี-โยป ซน

ผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำประเทศไทย และตัวแทนประจำประเทศไทยของ UNDP

ที่อยู่: อาคารสหประชาชาติ ชั้น 12 ถ. ราชดำเนินนอก กรุงเทพฯ 10200 ประเทศไทย
โทรศัพท์: +66 2 288 1234
แฟกซ์: +66 2 280 0556
อีเมล: registry.th@undp.org
เว็บไซต์: www.undp.or.th

UNEP สำนักงานโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme - UNEP)

UNEP มีภารกิจในการส่งเสริมภาวะผู้นำและการผนึกกำลังของพันธมิตรในการดูแลสิ่งแวด ล้อม ด้วยการสร้างแรงบันดาลใจ ให้ความรู้ และเสริมสร้างศักยภาพของชาติและประชาชนในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตโดยไม่ส่งผล กระทบกับคุณภาพชีวิตของลูกหลานในภายภาคหน้า

หัวหน้าหน่วยงาน:

นาย ยังวู ปาร์ค

ผู้อำนวยการประจำภูมิภาคและตัวแทนประจำภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก

ที่อยู่: อาคารสหประชาชาติ ถ. ราชดำเนินนอก กรุงเทพฯ 10200 ประเทศไทย
โทรศัพท์: +66 2 288 1870-4
แฟกซ์: +66 2 280 3829
เว็บไซต์: www.unep.org

คณะ กรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิกแห่งสหประชาชาติ (United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific - UNESCAP)

UNESCAP เป็นหน่วยงานระดับภูมิภาคของสำนักเลขาธิการที่ดูแลภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิกของ สหประชาชาติ ซึ่งมีหน้าที่ส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมผ่านความร่วมมือและการ บูรณาการทั้งระดับภูมิภาคและอนุภูมิภาค

หัวหน้าหน่วยงาน: นาง โนลีน เฮเซ่อร์
เลขาธิการ
ที่อยู่: อาคารสหประชาชาติ ห้องเอ็กเซคคิวทีฟ สูท ชั้น 2 ถ. ราชดำเนินนอก กรุงเทพฯ 10200 ประเทศไทย
โทรศัพท์: +66 2 288-1234
แฟกซ์ +66 2 288-1000
อีเมล: unisbkk.unescap@un.org
เว็บไซต์: http://www.unescap.org

UNESCO องค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UN Educational, Scientific and Cultural Organization - UNESCO)

วัตถุประสงค์หลักของ UNESCO คือ สนับสนุนให้มีสันติภาพและความมั่นคงในโลก ด้วยการส่งเสริมการประสานความร่วมมือกันระหว่างชาติต่างๆ ผ่านทางการศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม และการสื่อสาร

หัวหน้าหน่วยงาน: นาย กวาง-โจ คิม
ผู้อำนวยการ
ที่อยู่: 920 ถ. สุขุมวิท กรุงเทพฯ 10110 ประเทศไทย
โทรศัพท์: +66 2 391 0577
+66 2 391 0879
แฟกซ์: +66 2 391 0866
อีเมล: bangkok@unesco.org
เว็บไซต์: www.unescobkk.org

UNFPA กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (United Nations Population Fund - UNFPA)

UNFPA ส่งเสริมให้ประเทศกำลังพัฒนาค้นพบวิธีการแก้ปัญหาประชากร UNFPA เป็นแหล่งความช่วยเหลือระหว่างประเทศด้านประชากรที่ใหญ่ที่สุดในโลก

หัวหน้าหน่วยงาน:

นาย นาจีบ แอสซิิฟี่
ผู้แทนกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทยและ

รองผู้อำนวยการภุูมิภาค สำนักงานยูเอ็นเอฟพีเอประจำภูมิภาคเอเซียแอนด์แปซิฟิค

ที่อยู่: UNFPA อาคารสหประชาชาติ ชั้น 12 ถ. ราชดำเนินนอก กรุงเทพฯ 10200 ประเทศไทย
โทรศัพท์: +66 2 288 3320
แฟกซ์: +66 2 288 2715
อีเมล: thailand.office@unfpa.org
เว็บไซต์: www.unfpa.org (Thailand)

UNHCR สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UN High Commissioner for Refugees - UNHCR)

UNHCR มีอาณัติในการให้ความคุ้มครองระหว่างประเทศและแสวงหาวิธีการแก้ปัญหาผู้ลี้ ภัยที่ยั่งยืนผ่านมติที่ได้การรับรอง ณ ที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ

หัวหน้าหน่วยงาน: นายฌอง-โนแอล เวทเทอร์วอลด์
ผู้แทนข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติประจำประเทศไทย กัมพูชา ลาวและเวียดนาม
ที่อยู่: อาคารสหประชาชาติ ชั้น 3 ถ. ราชดำเนินนอก กรุงเทพฯ 10200 ประเทศไทย
โทรศัพท์: +66 2 288 1234
แฟกซ์: +66 2 280 0555
อีเมล: thaba@unhcr.org
เว็บไซต์: www.unhcr.or.th

องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (United Nations Children’s Fund - UNICEF)

UNICEF อุทิศให้กับการสร้างหลักประกันให้เด็กทุกคนมีสิทธิในการดำรงชีพ การพัฒนา การคุ้มครอง และการมีส่วนร่วม

หัวหน้าหน่วยงาน: นาย โทโมโอะ โฮซูมิ
ผู้แทนประจำประเทศไทย
ที่อยู่: สำนักงาน UNICEF ประเทศไทย 19 ถ. พระอาทิตย์ กรุงเทพฯ 10200 ประเทศไทย
โทรศัพท์: +66 2 356 9499
+66 2 280 5931
แฟกซ์: +66 2 281 6032
อีเมล: thailandao@unicef.org
เว็บไซต์: www.unicef.org

UNIDO องค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (UN Industrial Development Organization - UNIDO)

UNIDO มีภารกิจในการปรับปรุงสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และสนับสนุนความเจริญรุ่งเรืองทั่วโลกด้วยวิธีการแก้ปัญหาที่คิดค้นขึ้นมา โดยเฉพาะสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนของประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งประเทศและเศรษฐกิจที่อยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านอันก่อให้เกิดประโยชน์ทาง เศรษฐกิจ การจ้างงาน และสิ่งแวดล้อม

หัวหน้าหน่วยงาน: นาง อายูมิ ฟูจิโน
ผู้แทนและหัวหน้าสำนักงานส่วนภูมิภาคประจำประเทศไทย
ที่อยู่: 57 อาคารกรมโรงงานอุตสาหกรรม ชั้น 5 ถ. พระสุเมรุ บางลำพู พระนคร กรุงเทพฯ 10200 ประเทศไทย
โทรศัพท์: +66 2 280 8691
แฟกซ์: +66 2 280 8695
อีเมล: office.thailand@unido.org
เว็บไซต์: www.unido.org

กองทุนสหประชาชาติเพื่อการพัฒนาสตรี (UN Development Fund for Women - UNIFEM)

UNIFEM มุ่งส่งเสริมความเท่าเทียมกันทางเพศระหว่างหญิงและชายและยกระดับสถานภาพของสตรี UNIFEM นำเสนอผลประโยชน์และข้อกังวลใจของสตรีในวาระการพัฒนาของโลก

หัวหน้าหน่วยงาน:

นาง โมนี่ พิซานี่

ผู้แทนและผู้อำนวยการสำนักงานภูมิภาคเอเซียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้

ที่อยู่: สำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ อาคารสหประชาชาติ ชั้น 5 ถ. ราชดำเนินนอก กรุงเทพฯ 10200 ประเทศไทย
โทรศัพท์: +66 2 288 2093
แฟกซ์: +66 2 280 6030
อีเมล: info.th@unwomen.org
เว็บไซต์: unwomen.org

UNISDR สำนัก งานว่าด้วยกลยุทธ์์ระหว่างประเทศเพื่อการลดภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (United Nations International Strategy for Disaster Reduction - UNISDR)

UNISDR ได้รับการแต่งตั้งโดยที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติให้เป็นองค์กรที่สืบทอด ภารกิจจากทศวรรษสากลเพื่อการลดภัยพิบัติทางธรรมชาติ (International Decade for Natural Disaster Reduction – IDNDR) เพื่อทำหน้าที่เป็นกลไกของสหประชาชาติในการประสานงานเกี่ยวกับกิจกรรมลดภัย พิบัติทั่วโลก

หัวหน้าหน่วยงาน: นาย เจอร์มัน ที เวลาเควซ
เจ้าหน้าที่อาวุโสประจำภูมิภาค
ที่อยู่: ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ถ. ราชดำเนินนอก กรุงเทพฯ 10200 ประเทศไทย
โทรศัพท์: + 66 2 288 2745
แฟกซ์: + 66 2 288 1050
เว็บไซต์: www.unisdr.org/asiapacific

สำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UN Office on Drugs and Crime - UNODC)

UNODC ภาคพื้นเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินการต่อต้านการ ใช้ยาเสพย์ติดและการค้ายาเสพย์ติด กลุ่มอาชญากรรมข้ามชาติ การค้ามนุษย์ การฟอกเงิน คอร์รัปชัน และการก่อการร้ายผ่านความร่วมมือเป็นพันธมิตรในภูมิภาค

หัวหน้าหน่วยงาน:

นาย แกรี่ ลูอิส

ผู้แทน

ที่อยู่: อาคารสหประชาชาติ ชั้น 3 ถ. ราชดำเนินนอก กรุงเทพฯ 10200 ประเทศไทย
โทรศัพท์: +66 2 288 2471
แฟกซ์: +66 2 281 2129
เว็บไซต์: www.unodc.un.or.th

UNOHCHR สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ (UN Office of High Commissioner for Human Rights - UNOHCHR)

UNOHCHR สนับสนุนประชาคมระหว่างประเทศและรัฐสมาชิกให้ยึดถือมาตรฐานสากลด้านสิทธิมนุษยชนที่ผ่านความเห็นชอบทั่วไป

หัวหน้าหน่วยงาน: นาย โฮมายูน อลิซาเด
ตัวแทนประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ที่อยู่: อาคารสหประชาชาติ ชั้น 6 ถ. ราชดำเนินนอก กรุงเทพฯ 10200 ประเทศไทย
โทรศัพท์: +(66) 2 288 1235
แฟกซ์: +(66) 2 288 3009
อีเมล: OHCHR.Bangkok@un.org
เว็บไซต์: http://bangkok.ohchr.org
เว็บไซต์: http://www.ohchr.org/

UNOPS สำนักงานบริการโครงการแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office for Project Services - UNOPS)

UNOPS เป็นหน่วยงานพึ่งพาตนเองด้านการเงินของระบบสหประชาชาติ ซึ่งให้บริการทางด้านการปฏิบัติงานและการจัดการทั่วโลกแก่หน่วยงานสหประชา ชาติและรัฐบาลต่างๆ

หัวหน้าหน่วยงาน: นาย หวาง ยู
ผู้อำนวยการประจำภูมิภาค สำนักงานภูมิภาคประจำภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก
ที่อยู่: อาคารสหประชาชาติ ชั้น 2 ถ. ราชดำเนินนอก กรุงเทพฯ 10200 ประเทศไทย
โทรศัพท์: +66 2 288 1234
แฟกซ์: +66 2 281 1013

WFP โครงการอาหารโลก (World Food Programme - WFP)

WFP มุ่งขจัดความหิวโหยและความยากให้หมดไปจากโลก WFP สนองความต้องการยามฉุกเฉิน สนับสนุนการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม และดำเนินการเพื่อรักษาความหิวโหยให้ดำรงอยู่เป็นหัวใจสำคัญของวาระโลก

หัวหน้าหน่วยงาน: นาย เคนโร่ โอชิดาริ
ผู้อำนวยการประจำภูมิภาค
ที่อยู่: 55 อาคารเวฟเพลส ห้อง 2 ชั้น 7 ถ. วิทยุ ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 ประเทศไทย
โทรศัพท์: +66 2 655 4115
แฟกซ์: +66 2 655 4413
อีเมล: wfp.bkk@wfp.org
เว็บไซต์: www.wfp.org

WHO องค์การอนามัยโลก (World Health Organization - WHO)

WHO เป็นหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในกฎบัตรของสหประชาชาติ และก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2491 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อประสานความร่วมมือระหว่างพวกเขาและหน่วยงานอื่นเพื่อ ส่งเสริมสุขอนามัยของทุกคน

หัวหน้าหน่วยงาน: ดร. มัวรีน เบอร์มิ่งแฮม
ผู้แทนประจำประเทศไทย
ที่อยู่: อาคารปลัดกระทรวง 3 ชั้น 4 ถ. ติวานนท์ นนทบุรี 11000 ประเทศไทย
โทรศัพท์: +66 2 590 1524
+66 2 591 8198
แฟกซ์: +66 2 591 8199
อีเมล: registry@whothai.org
เว็บไซต์: www.whothai.org

สำนักงานที่ปรึกษาประจำภูมิภาคเอเซียแปซิฟิคสหภาพสากลไปรษณีย์ (Universal Postal Union - UPU)


หัวหน้าหน่วยงาน: นาย ซองลิน หลิว
ผู้ประสานงานโครงการประจำภูมิภาคเอเซียและแปซิฟิกของสหภาพสากลไปรษณีย์
ที่อยู่:

Thailand Post Training Centre
P.O. Box 258

ถนนแจ้งวัฒนะ หลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 ประเทศไทย

โทรศัพท์: +66 2 573 7523/4
แฟกซ์: +66 2 573 6457
เว็บไซต์: www.upu.int

worldbank ธนาคารโลก (World Bank)

ธนาคารโลกมีบทบาทสำคัญในการจัดทำวาระการ พัฒนาแห่งชาติผ่านการให้คำแนะนำเชิงนโยบายเกี่ยวกับประเด็นเชิงโครงสร้าง ระยะกลางที่เป็นความจำเป็นเร่งด่วน

หัวหน้าหน่วยงาน: นาง แอนเนต ดิกซัน
ผู้อำนวยการประจำประเทศไทย กัมพูชา สปป.ลาว มาเลเซีย และพม่า
ที่อยู่: 989 อาคารสยาม ทาวเวอร์ ชั้น 30 ถ. พระราม 1 ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 ประเทศไทย
โทรศัพท์: +66 2 686 8300
แฟกซ์: +66 2 686 8301
เว็บไซต์: www.worldbank.or.th

วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ส่งงานคะ อ.น้ำตาล INCOTERMS

INCOTERMS 2000 ::

โดย คุณสุชิน สมุทวนิช

ที่ปรึกษา หอการค้านานาชาติ ประจำประเทศไทย – ICC Thailand

ที่ปรึกษา สมาคมธนาคารไทย

ที่ปรึกษา ชมรมธุรกิจต่างประเทศ สมาคมธนาคารไทย

1. วัตถุประสงค์และขอบเขตของ INCOTERMS

โดยปกติแล้ว ในการค้าระหว่างประเทศจะมีเงื่อนไขทางการค้า (Trade Terms) ใช้กันเป็นประจำ เป็นต้นว่า FOB หรือ CIF หรืออะไรอื่น ๆ อีกหลายอย่าง ถ้าจะว่าไปแล้ว Trade Terms นี่แหละเป็นสาระสำคัญที่ช่วยชี้อย่างย่นย่อที่สุดเพื่อช่วยให้เราทราบว่า ใครจะต้องทำอะไรบ้าง จะรับภาระหน้าที่ไปแค่ไหน อาทิเช่น ผู้ขายต้องรับภาระในเรื่องของความเสี่ยง ( Risk ) เพียงใด ถึงจุดใด และต้องรับภาระในเรื่องค่าใช้จ่าย ( Cost ) เพียงใด ถึงจุดใด รวมทั้งที่จะต้องรับหน้าที่ในการจัดหายานพาหนะขนส่งหรือไม่ เพียงใด ด้วย หรือว่าอีกอย่างหนึ่ง ผู้ซื้อจะต้องเริ่มรับภาระของความเสี่ยง (Risk) เพียงใด จากจุดใด และต้องรับภาระเรื่องค่าใช้จ่าย (Cost) เพียงใด จากจุดใด ตลอดจนหน้าที่ในการจัดหายานพาหนะขนส่งด้วย ว่าจะต้องเริ่มจากจุดไหนไปถึงจุดไหน สรุปแล้ว Trade Terms มีไว้ตัดสินว่าสินค้าที่ซื้อขายกันนั้นได้มีการส่งมอบ (Delivery) ณ จุดไหน เพราะว่าตามประเพณีทางการค้านั้น ในเมื่อมีการส่งมอบแล้วความเสี่ยงจะเปลี่ยนมือจากผู้ขายไปอยู่ทางฝ่ายผู้ซื้อ แต่ต้องไม่ลืมว่าการส่งมอบนี้จะกระทำได้แต่เฉพาะสินค้าที่มีตัวตน (Tangible goods) สามารถจับต้องได้เท่านั้นมิได้หมายรวมถึงสินค้าที่จับต้องไม่ได้ (Intangible goods) เช่น ซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

เรื่องนี้ ดูเผิน ๆ ก็ง่ายดี แต่ว่าในโลกนี้ แต่ละถิ่น แต่ละประเทศ ต่างก็แปลความหมายของ Trade Terms ผิดเพี้ยนแตกต่างกันไป เป็นเหตุให้เกิดการโต้เถียงกันอยู่เนือง ๆ ระหว่างฝ่ายผู้ขายกับฝ่ายผู้ซื้อ เพราะต่างฝ่ายต่างมีความเข้าใจคนละอย่าง ไม่ตรงกัน ด้วยเหตุนี้ หอการค้านานาชาติ (International Chamber of Commerce หรือ ICC) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ปารีส และมีสำนักงาน ICC ประจำอยู่ในแต่ละประเทศที่เป็นสมาชิกทั่วไปร่วมร้อยแห่ง รวมทั้งประเทศไทยเราด้วย จึงได้กำหนด Incoterms (INternational COmmercial TERMS) ขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องความหมายของ Trade Terms ที่แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่นนี้ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จะได้ยุติข้อโต้แย้งต่าง ๆ กันเสียที กล่าวอีกอย่างหนึ่ง Incoterms ก็คือ Trade Terms นั่นเอง แต่เป็น Trade Terms ที่ยอมรับใช้กันทั่วทั้งโลก

เริ่มด้วยปี 1936 หรือเมื่อประมาณ พ.. 2479Incoterms ของ ICC ได้ออกใช้เป็นครั้งแรก และมีการแก้ไขต่อ ๆ มาอีกหลายครั้งหลายหน ในปี 1953, 1967, 1976, 1980, 1990 ตามลำดับ และฉบับสุดท้าย ซึ่งเริ่มใช้เป็นทางการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ปี 2000 (.. 2543) เป็นต้นมา มีชื่อเรียกว่า "Incoterms 2000" เพื่อใช้แทน Incoterms 1990 ที่ถึงวาระต้องหมดอายุไป

ทุกครั้งที่มีการใช้ Trade Terms โดยมีความประสงค์จะให้ตีความหมายตามที่หอการค้านานาชาติวางกฎระเบียบไว้ ผู้ซื้อและ/หรือผู้ขาย จะต้องระบุอย่างชัดเจน ไว้ในใบเสนอราคา ในอินวอยส์ ในสัญญาซื้อขาย หรือในเลตเตอร์ออฟเครดิต ฯลฯ เป็นวงเล็บต่อท้าย Trade Terms นั้น ๆ ว่า “(Incoterms 2000)” เช่น FOB Bangkok (Incoterms 2000) เพื่อจะไม่ต้องต่อล้อต่อเถียงกันเมื่อเป็นความถึงโรงถึงศาล ว่าจะใช้ Incoterms ฉบับไหนกันแน่โดยเฉพาะถ้าเป็นความในศาลต่างประเทศแล้ว ค่าใช้จ่ายจะสูงอย่างเหลือรับทีเดียว

2. ช่วงต่าง ๆ ของการขนส่ง

ารขนส่งสินค้าไม่ว่าจะกระทำด้วยวิธีใด กล่าวคือ ทางบก ทางน้ำ หรือทางอากาศ จะแบ่งขั้นตอนออกได้เป็น 3 ช่วง คือ

2.1 การขนส่งเบื้องต้น (Pre-Carriage) เป็นการขนส่งจากสถานที่เก็บสินค้าของผู้ขาย ไปยังท่าเรือ ย่านบรรทุกสินค้าทางบก (ทางรถไฟ หรือ ทางรถยนต์บรรทุก) หรือท่าอากาศยาน ในประเทศเดียวกัน ซึ่งจะต้องทำพิธีการศุลกากรขาออกด้วย เป็นต้นว่า ขนจากคลังสินค้าที่บางปะกงมาจนถึงท่าเรือคลองเตย

2.2 การขนส่งหลัก (Main Carriage) เป็นการขนส่งโดยยานพาหนะระหว่างประเทศ หลังจากที่ได้ผ่านพิธีการศุลกากรขาออกของประเทศต้นทาง ไปจนถึงประเทศปลายทาง ซึ่งต้องผ่านพิธีการศุลกากรขาเข้าอีกครั้งหนึ่ง เช่น จากท่าเรือคลองเตยไปจนถึงท่าเรือสิงคโปร์

2.3 การขนส่งต่อ (On Carriage) เป็นการขนส่งต่อเนื่องจากจุดที่สินค้าไปถึงประเทศปลายทางไปจนถึงอาคารของผู้ซื้อในประเทศปลายทางนั้น เช่น จากท่าเรือสิงคโปร์ไปถึงคลังสินค้าของผู้ซื้อที่ Jurong บนเกาะสิงคโปร์

3. รูปลักษณะของ Incoterms

Incoterms 2000 ฉบับนี้ (รวมทั้ง Incoterms 1990 ที่ยกเลิกไปแล้ว) แบ่ง terms ออกเป็นกลุ่ม ๆ รวม 4 กลุ่ม หรือทั้งหมด 13 เงื่อนไข ดังนี้

3.1 กลุ่ม E (ออกจากต้นทาง - Departure) ได้แก่

EXW - EX Works (ระบุสถานที่ต้นทาง)

3.2 กลุ่ม F (ค่าขนส่งหลัก หรือค่าขนส่งข้ามประเทศ ยังไม่จ่าย - Main Carriage Unpaid)

FCA - Free Carrier (ระบุชื่อสถานที่)

FAS - Free Alongside Ship (ระบุชื่อท่าเรือต้นทาง)

FOB - Free On Board (ระบุชื่อท่าเรือต้นทาง)

3.3 กลุ่ม C (ค่าขนส่งหลักหรือค่าขนส่งข้ามประเทศจ่ายแล้ว – Main Carriage Paid) ได้แก่

CFR - Cost and Freight (ระบุชื่อท่าเรือปลายทาง)

CIF - Cost, Insurance and Freight (ระบุชื่อท่าเรือปลายทาง)

CPT - Carriage Paid To (ระบุชื่อสถานที่ปลายทาง)

CIP - Carriage and Insurance Paid To (ระบุชื่อสถานที่ปลายทาง)

3.4 กลุ่ม D (ถึงปลายทาง - Arrival) ได้แก่

DAF - Delivered At Frontier (ระบุชื่อสถานที่ที่ส่งที่พรมแดน)

DES - Delivered EX Ship (ระบุชื่อท่าเรือปลายทาง)

DEQ - Delivered Ex Quay (ระบุชื่อท่าเรือปลายทาง)

DDU - Delivered Duty Unpaid (ระบุชื่อสถานที่ปลายทาง)

DDP - Delivered Duty Paid (ระบุชื่อสถานที่ปลายทาง)

4. INCOTERMS แยกกลุ่มตามวิธีการขนส่ง (Mode of Transport)

เราอาจจะแยก Incoterms สำหรับใช้กับรูปแบบการขนส่งต่าง ๆ ได้เป็น 4 กลุ่ม ดังต่อไปนี้

4.1 การขนส่งไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ทุกวิธี รวมทั้งการขนส่งหลายวิธีผสมกัน ( เช่น ทางบกร่วมกับทางเรือ) โดยใช้เอกสารการขนส่งชุดเดียว หรือฉบับเดียว(Multi-modal Transport)

- EXW ( .... ระบุสถานที่)

- FCA (.... ระบุสถานที่)

- CPT ( .... ระบุสถานที่ปลายทาง)

- CIP ( .... ระบุสถานที่ปลายทาง)

- DAF ( .... ระบุสถานที่)

- DDU (.... ระบุสถานที่ปลายทาง)

- DDP (.... ระบุสถานที่ปลายทาง)

4.2 การขนส่งทางอากาศ

- FCA (.... ระบุสถานที่)

4.3 การขนส่งทางรถไฟและทางรถยนต์

- FCA (.... ระบุสถานที่)

4.4 การขนส่งทางทะเลและทางน้ำในแผ่นดิน (เช่นแม่น้ำและทะเลสาบ)

- FAS ( .... ระบุท่าต้นทาง)

- FOB ( .... ระบุท่าต้นทาง)

- CFR ( .... ระบุท่าปลายทาง)

- CIF ( .... ระบุท่าปลายทาง)

- DES ( .... ระบุท่าปลายทาง)

- DEQ ( .... ระบุท่าปลายทาง)

จากรายการข้างต้นนี้จะเห็นได้ว่า สำหรับการขนส่งทั้งทางอากาศและทางพื้นดิน (ตามข้อ 3.2 และ 3.3) การใช้ FOB term อย่างที่มักจะทำกันเปรอะอยู่ทั่วไปนั้น เป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง

5. ความหมายโดยย่อของ INCOTERMS แต่ละเงื่อนไข

ต่อไปนี้ จะเป็นการกล่าวถึงเงื่อนไขแต่ละเงื่อนไขอย่างง่าย ๆซึ่งในหนังสือ "Incoterms 2000" ของ ICC จะมีคำอธิบายอย่างละเอียดกว่านี้มาก

5.1 EXW ( .... ระบุสถานที่)

ผู้ขายไม่ต้องทำอะไรเลย เป็นหน้าที่ของผู้ซื้อที่จะต้องจัดการขนส่งสินค้าเองตั้งแต่ออกจากคลังสินค้าของผู้ขาย ค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงตกอยู่กับผู้ซื้อทั้งสิ้น ตั้งแต่ค่าใช้จ่ายในการผ่านด่านศุลกากรขาออก กระทั่งค่าใช้จ่ายในการขนของขึ้นรถที่มารับ คลังสินค้าของผู้ขาย ทั้งนี้ เว้นแต่จะตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น เช่นให้ผู้ขายส่งของขึ้นรถที่ผู้ซื้อจัดมาให้ด้วย

อนึ่ง ใคร่ขอตั้งข้อสังเกตไว้ด้วยว่า EXW นี้เขาให้ใช้ครอบคลุมไปทั้งหมด ไม่มีการใช้เงื่อนไข EX FACTORY, EX WAREHOUSE ฯลฯ กันต่อไปอีกแล้ว

5.2 FCA ( .... ระบุสถานที่ )

ผู้ขายส่งสินค้าให้ถึงจุดหรือสถานที่รับสินค้า (Reception Point) ที่อยู่ภายใต้ความอารักขาของผู้รับขนสินค้า (Carrier) เช่น Container Freight Station, Cargo Terminal ที่ท่าอากาศยาน หรือ สถานีรถไฟ ฯลฯ โดยเป็นหน้าที่ของผู้ขายในอันที่จะจัดการเพื่อส่งออกด้วย ( เช่น ขอใบอนุญาต ในกรณีที่ต้องมีใบอนุญาตส่งออก รวมทั้งผ่านพิธีการศุลกากร) Terms นี้ จะใช้สำหรับการขนส่งทุกชนิด ทั้งทางบกหรือและอากาศ รวมทั้งการขนส่งหลายรูปแบบ (multimodal modal)โดยเฉพาะทางเรือจะเกี่ยวเนื่องกับการส่งของโดย container ด้วยวิธีที่เรียกว่า RO-RO ( roll on – roll off ) ไม่มีการยกสินค้าขึ้นเรือโดยใช้ปั้นจั่น แต่เป็นการขนส่งสินค้าไปถึงจุดรับสินค้าของผู้รับขนส่ง เช่น Container Freight Station ( CFS ) ถ้าการส่งมอบสินค้ากระทำที่สถานที่ของผู้ขายเอง ผู้ขายต้องรับผิดชอบในการเอาของขึ้นบรรทุกยานพาหนะที่มารับด้วย แต่ถ้าการส่งมอบกระทำ ณ สถานที่อื่น ผู้ขายจะไม่ต้องรับผิดชอบในการนำของลงจากยานพานะที่ใช้ขนสินค้าไป ฯลฯ

5.3 FAS ( .... ระบุท่าต้นทาง)

ผู้ขายส่งสินค้าให้ถึงข้างลำเรือที่ท่า หากเรือทอดสมออยู่กลางทะเลก็ต้องลำเลียงโดยเรือเล็กไปจนถึงข้างเรือใหญ่ กรณีนี้ ผู้ขายต้องจัดการส่งออกให้เรียบร้อย กล่าวคือทั้งเสียอากรขาออกและขอใบอนุญาตส่งออก ฯลฯ ซึ่งต่างกับ Incoterms 1990 ฉบับเดิมอย่างพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ เพราะตามฉบับที่แล้ว ผู้ซื้อต้องจัดการทำพิธีการส่งออกเอาเอง

5.4 FOB ( .... ระบุท่าต้นทาง)

ผู้ขายส่งสินค้าให้ถึงบนเรือ และความเสี่ยงจะเปลี่ยนข้างจากผู้ขายไปตกอยู่กับผู้ซื้อตั้งแต่วินาทีที่สินค้าถูกยกข้ามพ้นกราบเรือ (ship's rail) ไปเหนือลำเรือแล้ว ภาระในการส่งออก (เช่น การขอใบอนุญาต การชำระค่าอากรขาออก ฯลฯ) เป็นของผู้ขายที่จะต้องจัดการให้เสร็จสิ้น Terms นี้ใช้สำหรับการส่งของทางเรือแบบดั้งเดิม (conventional) โดยการยกสินค้าขึ้นเรือ หรือที่เรียกกันว่า LO-LO (Lift on – Lift off)

5.5 CFR ( .... ระบุท่าปลายทาง)

(โปรดสังเกตว่าเงื่อนไขนี้ เดิมใช้กันว่า C&F)

เช่นเดียวกันกับ FOB ข้างบน หากแต่ว่าผู้ขายต้องชำระค่าระวางในการขนส่งทางเรือด้วย มีข้อที่น่าสังเกตคือ ถึงแม้ผู้ขายจะต้องรับภาระเรื่องค่าระวางถึงปลายทางก็ตาม แต่ความเสี่ยงของฝ่ายผู้ขายนี้จะอยู่แค่กราบเรือที่ต้นทาง เหมือนกับกรณีของ FOB เท่านั้นเอง ว่าอีกอย่างหนึ่ง Cost (ค่าใช้จ่าย) ของผู้ขายไปถึงท่าปลายทาง (เสียค่าระวาง) แต่ Risk (ความเสี่ยง) ของผู้ขายจะสิ้นสุดที่กราบเรือเท่านั้นเอง ถ้าเป็นการส่งสินค้าโดยมิได้มียกของข้ามกราบเรือ จะต้องใช้เงื่อนไข CPT ซึ่งจะกล่าวต่อไป

5.6 CIF ( .... ระบุท่าปลายทาง)

เช่นเดียวกับ CFR ทุกประการ เพียงแต่เพิ่มให้ผู้ขายต้องจัดการเอาประกันภัยให้กับสินค้าที่ขนส่ง ด้วยการชำระเบี้ยประกันจนถึงปลายทางด้วยเท่านั้น และต้องไม่ลืมว่าความเสี่ยงของผู้ขายจะมีถึงจุดเหนือกราบเรือ เช่นเดียวกับเงื่อนไข FOB หรือ CFR เท่านั้น เลยไปแล้วเป็นเรื่องของผู้ซื้อ

5.7 CPT ( .... ระบุท่าปลายทาง)

เป็น term ใหม่ ใช้มาตั้งแต่ Incoterms 1990 สำหรับการขนส่งทุกรูปแบบ รวมทั้ง multimodal transport ด้วย มีความหมายใกล้เคียงกันกับ CFR ซึ่งให้ใช้แต่เฉพาะการขนส่งทางเรือนั่นเอง แต่สำหรับเงื่อนไข CPT นี้ ผู้ขายต้องส่งมอบสินค้าให้กับผู้รับขนส่ง (Carrier) ณ สถานที่รับของ ไม่ต้องส่งของขึ้นเรือ

5.8 CIP ( .... ระบุท่าปลายทาง)

เช่นเดียวกับ CPT ทุกประการ แต่เพิ่มภาระให้ผู้ขายต้องเอาประกันภัยด้วย ถ้าจะว่าไปแล้ว ความหมายของ CIP ก็ใกล้เคียงกับ CIF จะต่างกันก็ตรงที่ CIP ใช้ได้กับการขนส่งทุกรูปแบบ ตลอดจน multimodal transport แต่ CIF ใช้กับการขนส่งทางเรือเท่านั้น

5.9 DAF ( .... ระบุสถานที่)

สำหรับการขนส่งสินค้าโดยผู้ขายไปจนถึงพรมแดนของประเทศโดยผ่านด่านศุลกากรขาออกของประเทศผู้ขายไปแล้ว แต่ยังไม่ผ่านด่านศุลกากรขาเข้าของประเทศผู้ซื้อ ค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงเป็นของผู้ขายไปถึงจุดที่ว่านั้น ณ พรมแดน ทั้งนี้ เว้นจะตกลงกันเป็นอย่างอื่น

5.10 DES ( .... ระบุท่าปลายทาง)

ผู้ขายต้องรับภาระค่าใช้จ่ายและความเสี่ยง จนกระทั่งเรือไปถึงและเทียบท่าปลายทางความรับผิดชอบนี้จะจำกัดอยู่แค่นั้น โดยสินค้ายังอยู่บนเรือ สำหรับการขนของลงจากเรือและค่าใช้จ่ายตลอดจนความเสี่ยงอื่น ๆ ที่ตามมา เป็นเรื่องของผู้ซื้อแต่ลำพังเพียงผู้เดียว

5.11 DEQ ( .... ระบุท่าปลายทาง)

เหมือนกันกับ DES ข้างบน หากแต่ผู้ขายต้องขนส่งสินค้าลงที่หน้าท่าให้ด้วย ต่อจากนั้นจึงเป็นภาระของผู้ซื้อ ค่าอากรขาเข้าและภาระในการขอใบอนุญาตนำเข้า (ถ้าจำเป็นต้องมี) ผู้ซื้อต้องจัดการเอง เงื่อนไขนี้ เดิมใน Incoterms 1990 ผู้ขายหรือผู้ซื้อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะจ่ายก็ได้ แล้วแต่จะตกลงกัน (แต่ปกติแล้วผู้ขายต้องจ่าย) คราวนี้เปลี่ยนเป็นให้ผู้ซื้อจ่ายอย่างเดียว

5.12 DDU ( .... ระบุสถานที่ปลายทาง)

ผู้ขายจะต้องขนส่งสินค้าไปจนถึงสถานที่ที่ผู้ซื้อกำหนดในประเทศปลายทาง เช่นให้ส่งที่คลังสินค้าของผู้ซื้อไม่ว่าจะตั้งอยู่ที่ไหน ในประเทศปลายทางดังกล่าว แต่ถ้าตกลงกันว่าให้ส่งมอบสินค้าในบริเวณท่าเรือปลายทางก็ควรใช้เงื่อนไข DES หรือ DEQ แทน ในการนี้ผู้ขายจะจัดการขนส่งสินค้าไปจนถึงสถานที่ที่จะส่งมอบ แต่เป็นหน้าที่ของผู้ซื้อที่จะต้องจัดการขนสินค้าดังกล่าวลงจากยานพาหนะที่ไปส่งสินค้าเอง อย่างไรก็ตาม ทางฝ่ายผู้ซื้อต้องชำระค่าอากรขาเข้าตลอดจนภาษีอื่น ๆ ของประเทศที่นำสินค้าเข้าเองด้วย

5.13 DDP ( .... ระบุสถานที่ปลายทาง)

ผู้ขายต้องรับภาระสูงสุด (และราคาก็สูงสุดเหมือนกัน)เพราะฝ่ายผู้ซื้อไม่ต้องทำอะไรและไม่ต้องจ่ายค่าอากรขาเข้าด้วย เป็นหน้าที่ของผู้ขายที่จะต้องเหมาหมด การขนสินค้าลงจากยานพาหนะที่ไปส่งก็เป็นหน้าที่ของผู้ซื้อเช่นเดียวกันกับภายใต้เงื่อนไข DDUและถ้าตกลงจะส่งมอบกันในบริเวณท่าเรือ ก็ให้ใช้เงื่อนไข DES หรือ DEQ แทนเหมือนกันกับกรณี DDU ที่กล่าวแล้ว ภายใต้เงื่อนไข DDP นี้ ราคาสินค้าต่อหน่วยจะแพงที่สุด เพราะผู้ขายต้องรับภาระทุกอย่าง

6. ทำไมจึงได้มีการแก้ไข Incoterms อีกครั้งในปี 2000

ารแก้ไขที่มีหลายครั้งหลายหน ก็เพื่อปรับปรุง Incoterms ให้เข้ากับวิธีปฏิบัติในการค้าที่มีวิวัฒนาการเป็นลำดับมา เป็นต้นว่าเมื่อครั้งที่เริ่มใช้ containers ในการขนส่งสินค้า เป็นเหตุให้ต้องเพิ่มเงื่อนไข FCA เข้ามาใช้ร่วมกันกับ FOB แต่ว่าในกรณีที่ต่างกันกับ FOB Incoterms 2000 ฉบับนี้ใช้เวลาปรับปรุงจากของเดิมอยู่ราว 2 ปี จึงแล้วเสร็จ โดยพยายามเขียนให้ชัดเจนและถูกต้องขึ้นยิ่งกว่าเก่า

นอกจากนั้นก็มีนำเรื่องการใช้เอกสารที่ไม่มีกระดาษ (paperless documents)

มารวมเข้าไว้ในรายละเอียดด้วย เพื่อให้ใช้ได้กับ e-Commerce ต่อไป เอกสารไร้กระดาษนี้ ใน eUCP (Supplement to UCP 500 for Electronic Presentation - ภาคผนวกของ UCP 500 สำหรับการยื่น (เอกสาร) ทางอิเล็กทรอนิคส์) เขาเรียกว่า Electronic Records

เดิมทีมีผู้แสดงความคิดเห็นว่า เงื่อนไขต่าง ๆ ที่มีอยู่ใน Incoterms 1990 รวม 13 terms นั้น ยังครอบคลุมไม่ทั่วถึง บ้างก็เสนอแนะให้ใช้เงื่อนไขที่ผันแปร (Variants) หรือเพี้ยนไปบางอย่าง เป็นต้นว่า EXW Loaded, EXW Cleared, FOB Stowed (Trimmed and Secured), CIF Undischarged, CIF Landed และ CIP Loaded ฯลฯ แต่ว่าในการประชุมเพื่อแก้ไข Incoterms จาก 1990 มาเป็น 2000 ที่ประชุมตกลงให้ปล่อยไว้ตามเดิม ใครอยากจะใช้เงื่อนไข variants นี้ก็ทำได้ แต่ถือว่าเป็นเรื่องที่อยู่นอกเหนือ Incoterms 2000 ทาง ICC ไม่รับรู้ด้วย

7. ความเปลี่ยนแปลงของ Incoterms 2000 ไปจาก Incoterms 1990

ดังได้กล่าวแล้วว่า คำจำกัดความของ Incoterms 2000 ยังคงรักษาเนื้อหาของ Incoterms 1990 ไว้เกือบทั้งหมด จะมีเปลี่ยนแปลงบ้าง แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ก็ตรงที่ FAS (ข้อ 5.3) และ DEQ (ข้อ 5.11) อีกทั้ง FCA ซึ่งเป็นการขยายความมากกว่า สำหรับ FCA นี้ มีความละม้ายกับ FOB มาก หากแต่ FCA ไม่ยึดถือเอาการที่สินค้าถูกส่งมอบโดยยกผ่านกราบเรือเป็นสาระสำคัญ ฉะนั้น หากไม่มีการส่งมอบโดยยกสินค้าผ่านกราบเรือ ซึ่งเป็นวิธีการขนส่งตั้งแต่โบราณแล้ว จะต้องใช้ FCA จะใช้ FOB ไม่ได้เป็นอันขาด อีกประการหนึ่ง เนื่องจากเงื่อนไขนี้ใช้ได้กับการส่งมอบสินค้า ณ ที่อื่นซึ่งอยู่ห่างจากลำเรือด้วย เช่นส่งมอบที่ Container Freight Station (CFS) ถ้าใช้เงื่อนไข FCA และผู้ซื้อส่งยานพาหนะมารับของ ผู้ขายมีภาระต้องจัดการขนสินค้าขึ้นยานพาหนะดังกล่าวด้วย ตรงกันข้าม ถ้าผู้ขายต้องจัดยานพาหนะไปส่งของให้ถึงสถานที่รับของ (เช่น CFS) ผู้ขายไม่มีหน้าที่ต้องขนลงให้ ผู้ซื้อต้องรับผิดชอบในเรื่องนี้เอง

8. ข้อสังเกตุ

Incoterms 2000 ซึ่งเป็นผลงานของคณะผู้ยกร่างอันมี Professor Jan Ragbag เป็นประธานนี้ ได้รับการต้อนรับอย่างกว้างขวางกว่าเดิมมาก แม้แต่ UNCITRAL (UN Commission on International Trade Law - คณะกรรมการกฎหมายการค้าระหว่างชาติขององค์การสหประชาชาติ) ก็ยังให้การยอมรับนับถือ

ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเรื่องของ Incoterms โดยสรุปอย่างย่อที่สุด ซึ่งเชื่อว่าน่าจะอำนวยประโยชน์ได้บ้างพอสมควร ปัญหาที่ผู้บรรยายประสบเสมอจนทุกวันนี้ ได้แก่เงื่อนไข CFR อันเป็นเงื่อนไขเก่าแก่ ที่ใช้กันมานานในชื่อเดิมว่า C&F แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงเป็นใช้อักษรสามตัว และเลิกใช้สัญลักษณ์ "&" ไปแล้ว ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการติดต่อกันโดยใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ เพราะว่าการใช้สัญลักษณ์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ในการติดต่อสื่อสาร หรือแม้แต่กับเครื่องเทเล็กซ์เองนั้นเป็นสิ่งที่กระทำได้ยาก เงื่อนไข C&F นี้ ที่เห็นในเทเล็กซ์ เขาใช้กันว่า CNF เพื่อเลี่ยงการใช้สัญลักษณ์ "&" นอกจากนี้แล้ว ที่เห็นว่ายังนิยมใช้กันมากคือ FOB สำหรับการขนส่งทางอากาศ ซึ่งไม่ถูกต้อง หากจะยึดถือตาม Incoterms แล้ว ต้องใช้ FCA แต่อย่างเดียว

ที่มา http://www.marinerthai.com/articles/inco2k.htm