วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2554

: Bill of Lading ส่งงานคะ

ให้บอกด้วยว่าสัมพันธ์กับ Incoterm ตัวใด

โหมดการขนส่งที่ไม่ใช่ การขนส่งทางเรือ มีทั้งหมด 7 เทอม ประกอบด้วยเทอมเก่าคือ EXW (Ex Works), FAC (Free Carrier), CPT (Carriage Paid To), CIP (Carriage And Insurance Paid To), DAT (Delivered At Terminal ), DAP (Delivered At Place) และ DDP (Delivered Duty Unpaid) อีกโหมดหนึ่งคือการขนส่งทางทะเลและทางลำน้ำ ประกอบด้วย 4 เทอมซึ่งเป็นเทอมที่คุ้นเคยกันทั่วไปคือ FAS (Free Alongside Ship), FOB (Free On Board), CFR (Cost And Freight) และ CIF (Cost, Insurance and Freight)

DAT (Delivered At Terminal) เป็นเทอมใหม่ แทน DEQ (Delivered Ex Quay) จากข้อมูลเบื้องต้น เทอม DAT สามารถใช้กับการขนส่งแบบใดก็ได้รวมทั้งใช้ได้กับการขนส่งที่ต้องใช้ทั้งสอง โหมด สำหรับการส่งมอบสินค้านั้น ถือว่าผู้ขายได้ส่งมอบสินค้า เมื่อมีการขนถ่ายสินค้าลงจากยานพาหนะที่บรรทุก ไปไว้ยังที่ที่ผู้ซื้อจัดไว้ ณ อาคารขนถ่ายสินค้า ในท่าเรือหรือปลายทางตามที่ระบุไว้

DAP (Delivered At Place) เป็นเทอมใหม่แทน DAF (Delivered At Frontier), DES (Delivery Ex Ship), DEQ (Delivered Ex Quay) และ DDU (Delivered Duty Unpaid) ซึ่งทางหอการค้านานาชาติเห็นว่า เทอมเดิมทั้งสี่เทอมดังกล่าวค่อนข้างคล้ายกันมากแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย จึงยุบรวมกันเพื่อให้เกิดความสะดวกยิ่งขึ้น และตามข้อมูลเบื้องต้น ผู้ขายตามเทอม DAP จะต้องรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายต่าง ยกเว้นค่าภาษีและพิธีการนำเข้า และต้องรับความเสี่ยงภัย จนสินค้าถึงจุดหมายปลายทาง

หมายเหตุเกี่ยวกับ Incoterms 2000 และ Incoterms 2010 ตามเอกสารของหอการค้านานาชาติ บันทึกให้เป็นที่รับทราบกันว่า บรรดาสัญญาซื้อขายที่ทำภายใต้ Incoterms 2000 ยังมีผลใช้บังคับได้ แม้จะล่วงเลยปี พ.ศ. 2555 ก็ตาม นอกเหนือจากนั้นการทำสัญญาซื้อขายสินค้าภายหลังจากนี้ คู่สัญญายังสามารถเลือกได้ว่าจะใช้เทอมการค้า ตามอินโคเทอม ฉบับก่อนฉบับใดก็ได้ แต่ต้องระบุไว้ในสัญญาให้ชัดแจ้ง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดข้อพิพาทขึ้น

คำแนะนำของหอการค้านานาชาติเกี่ยวกับใช้อินโคเทอม หอการค้านานาชาติให้คำแนะนำว่า ในการทำสัญญาซื้อขาย ผู้ซื้อและผู้ขายควรตกลงเลือกใช้เทอม ตามอินโคเทอมที่เหมาะสมกับสินค้าและวิธีการขนส่ง โดยสามารถศึกษาได้จากคำอธิบายและแนวทางในการใช้ Incoterms 2010 แต่ละเทอมได้จากเอกสารของหอการค้านานาชาติ (เป็นเอกสารลิขสิทธิ์พิมพ์จำหน่ายไม่ได้แจก) จึงเป็นเรื่องที่ผู้นำเข้าและส่งออกควรได้ศึกษาทำความเข้าใจกับ Incoterms 2010 เพื่อประโยชน์ในการเจรจาทำความตกลงซื้อขายให้เกิดประโยชน์สูงสุด


ใบตราส่งสินค้า

  • เป็นตราสารที่ผู้รับขนสินค้าออกให้แก่ผู้ส่งสินค้า เพื่อแสดงว่าได้มีการรับสินค้าเพื่อนำส่งไปยังจุดหมายปลายทางที่ผู้ส่ง สินค้ากำหนด ใบตราส่งสินค้ามีหลายชนิด เช่น
  • ใบตราส่งสินค้าทางทะเลเรียกว่า Ocean Bill of Lading ซึ่งมีลักษณะปลีกย่อยดังนี้ ใช้กับการขนส่งรวมรูปแบบต่อเนื่องหลายวิธีเข้าไว้ด้วยกัน เรียกว่า Multimodal Transport Document หรือ Combine Transportation Bill of Lading
  • ใช้ในการขนส่งที่ผู้รับสินค้าไม่ต้องนำต้นฉบับใบตราส่งไปขอรับ สินค้า ซึ่งในทางปฏิบัติผู้รับสินค้าสามารถใช้สำเนาใบตราส่งไปขอรับใบสั่งปล่อยจาก ตัวแทนเรือได้ เรียกว่า Seaway Bill หรือ Express Bill ใบตราส่งประเภทนี้ผู้รับตราส่งจะต้องเป็นผู้นำเข้าโดยตรง และความรับผิดชอบของผู้รับขนส่งมีน้อยกว่าใบตราส่งประเภทอื่น
  • ใบตราส่งสินค้าทางอากาศเรียกว่า Air Way Bill
  • ใบตราส่งสินค้าทางรถไฟ เรียกว่า Railway Bill ใบตราส่งสินค้าที่สำคัญได้แก่


ใบตราส่งสินค้าทางเรือ (Bill of Lading)

ใบตราส่งสินค้าทางเรือเป็นเอกสารที่มีคุณลักษณะ 3 ประการ คือ

  • เป็นใบรับสินค้าที่ออกให้โดยสายเดินเรือหรือตัวแทนสายเดินเรือ ที่มีรายละเอียดของสินค้าที่จะทำการขนส่ง
  • เป็นสัญญาการขนส่งระหว่างผู้ส่งสินค้ากับผู้รับขนส่งสินค้า ว่าผู้รับขนส่งจะส่งสินค้าไปยังเมืองท่าปลายทางและจะส่งมอบให้แก่ผู้รับที่ ผู้ส่งสินค้าได้ระบุไว้
  • เป็นเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในสินค้าที่ขนส่งที่เปลี่ยนมือได้ (Negotiable) ของผู้ทรงสิทธิ์ ซึ่งผู้ทรงสิทธิ์จะใช้ในการขอรับสินค้าที่ท่าเรือปลายทาง หรือจะใช้ในการขายต่อสินค้าให้กับผู้รับซื้อช่วงในระหว่างการขนส่งก็ได้


ข้อความที่สำคัญในใบตราส่งสินค้าทางเรือมีดังนี้
ภาพ:ซื้อขาย.GIF
  • ใบตราส่งสินค้าทางอากาศ (Air Way Bill)

ใบตราส่งสินค้าทางอากาศเป็นเพียงใบรับสินค้าและสัญญาการขนส่งเท่านั้น


ข้อความที่สำคัญในใบตราส่งสินค้าทางอากาศมีดังนี้


ภาพ:ใบตรา.GIF
  • ใบตราส่งสินค้าที่ใช้กับการขนส่งรวมรูปแบบต่อเนื่องหลายวิธีเข้าไว้ด้วยกัน

ใบตราส่งสินค้าที่ใช้กับการขนส่งรวมรูปแบบต่อเนื่องหลายวิธีเข้า ไว้ด้วยกัน เรียกว่า Multimodal Transport Bill of Lading ใช้สำหรับการขนส่งที่รวมรูปแบบหลายรูปแบบเข้าด้วยกัน เช่น ขนส่งโดยรถยนต์ไปต่อเรือเดินสมุทรแล้วไปต่อเครื่องบินอีกทอดหนึ่งเป็นต้น ใบตราส่งสินค้าแบบ Multimodal Transport Bill of Lading มีรายละเอียดเหมือนกันกับใบตราส่งสินค้าทางทะเลเกือบทั้งหมด

ข้อความที่สำคัญในใบตราส่งสินค้าแบบ Multimodal Transport Bill of Lading มีดังนี้


ภาพ:ขาย.GIF





คำศัพท์ประเภทสินค้า

Live Animals-ANI

สัตว์มีชีวิต

Perishables-PER

ของเน่าเปื่อยได้

Valuable Cargo-VAL

ของมีค่า

Human Remains-HUM

ศพมนุษย์

Dangerous Goods

สินค้าอันตราย

คำศัพท์ที่ระบุในเอกสาร

BAF (Bunker Adjuster Factor)

ตัวปรับค่าน้ำมัน

B/L (Bill of lading)

ใบตราส่งสินค้าทางเรือ

Surender B/L

ใบตราส่งสินค้าที่ผู้รับใบตราส่ง สามารถรับใบสั่งปล่อยสินค้าที่ปลายทางได้โดยไม่ต้องใช้ใบตราส่งสินค้าต้นฉบับ

Shipped on Board

เป็นคำที่ระบุใน B/Lมีความหมายว่าเรือสินค้าได้รับของไว้บนเรือเป็นที่เรียบร้อย

AWB(Air Waybill)

ใบตราส่งสินค้าทางอากาศ

HAWB(House Air Waybill)

ใบตราขนส่งทางอากาศที่ออกโดย Freight Forwarder

CAF (Currency Adjustment Factor)

ตัวปรับเงินสกุลค่าระวางเรือ

CFS (Container Freight Station)

สถานีตู้สินค้า

CY (Container Yard)

ลานตู้สินค้า

FCL (Full Container Load)

สินค้าเต็มตู้

LCL (Less Than Container Load)

สินค้าไม่เต็มตู้

Consolidation

การรวบรวมสินค้า หรือ การรวมสินค้า โดยปกติจะกระทำโดยตัวแทนของผู้ซื้อสินค้า

TEU(Twenty-Foot Equivalent Unit )

ตู้สินค้าขนาด 20 ฟุต

FEU (Forty-Foot Equivalent Unit)

ตู้สินค้าขนาด 40 ฟุต

THC (Terminal Handing Charge)

ค่าใช้จ่ายที่ท่าในการเคลื่อนย้ายตู้สินค้า

Freight Collect

ค่าระวางจ่ายที่เมืองปลายทาง

Freight Prepaid

ค่าระวางจ่ายที่ต้นทาง

Detention

ค่าคืนตู้สินค้าที่ช้าเกินกว่าที่กำหนด

E.T.A (Estimate time of Arrival)

วันที่ที่เรืองจะเข้าถึงท่าปลายทาง

E.T.D (Estimate time of Departure)

วันที่ที่เรือจะออกจากท่าต้นทาง



ประเภทของตู้สินค้า

1) Dry Cargoes เป็นตู้ที่ใส่สินค้าทั่วไปที่มีการบรรจุหีบห่อหรือภาชนะต้องเป็นสินค้าที่ ไม่ต้องการรักษาอุณหภูมิ โดยสินค้าที่เข้าตู้ล้วจะต้องมีการจัดทำที่กั้นไม่ ให้มีสินค้าเลื่อนหรือขยับ หากใช้เป็นเชือกไนลอนรัดหน้าตู้ ก็จะเรียกว่า Lashing
2) Refrigerator Cargoes เป็นตู้สินค้าประเภทที่มีเครื่องปรับอากาศ มีการปรับอุณหภูมิในตู้ ซึ่งทำตามมาตรฐานต้องสามารถปรับอุณหภูมิได้อย่างน้อย –18 องศาเซลเซียสโดยเครื่องทำความเย็นนี้อาจติดอยู่กับตู้หรือมีปลั๊กใช้กระแส ไฟฟ้าเสียบจากนอกตู้ ซึ่งจะต้องมีที่วัดอุณหภูมิแสดงให้เห็นสถานะของอุณหภูมิของตู้สินค้า
3) Open Top เป็นตู้ซึ่งส่วนใหญ่จะต้องเป็น 40 ฟุต โดยออกแบบมาไม่ให้มีหลังคา สำหรับใช้ในการวางสินค้าขนาดใหญ่ เช่น เครื่องจักร ซึ่งไม่สามารถขนย้ายผ่านประตู้ได้
4) Flat-rack เป็นพื้นราบมีขนาดกว้างและยาว ตาม Size ของ Container มาตรฐาน เป็นตู้คล้าย Container ที่มีแต่พื้น Platform สำหรับใส่สินค้าลักษณะพิเศษ เช่น เครื่องจักรประติมากรรม,รถแทรกเตอร์ เพื่อให้สามารถจัดเรียงกองในรูปแบบที่เป็น Slot ซึ่งเป็นลักษณะเรือที่เป็น Container

INCOTERMS 2000

5.1 EXW ( .... ระบุสถานที่)

ผู้ขายไม่ต้องทำอะไรเลย เป็นหน้าที่ของผู้ซื้อที่จะต้องจัดการขนส่งสินค้าเองตั้งแต่ออกจากคลัง สินค้าของผู้ขาย ค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงตกอยู่กับผู้ซื้อทั้งสิ้น ตั้งแต่ค่าใช้จ่ายในการผ่านด่านศุลกากรขาออก กระทั่งค่าใช้จ่ายในการขนของขึ้นรถที่มารับ คลังสินค้าของผู้ขาย ทั้งนี้ เว้นแต่จะตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น เช่นให้ผู้ขายส่งของขึ้นรถที่ผู้ซื้อจัดมาให้ด้วย

5.2 FCA ( .... ระบุสถานที่ )

ผู้ขายส่งสินค้าให้ถึงจุดหรือสถานที่รับสินค้าที่อยู่ภายใต้ความอารักขาของผู้รับขนสินค้า เช่น Container Freight Station, Cargo Terminal ที่ท่าอากาศยาน หรือ สถานีรถไฟ ฯลฯ โดยเป็นหน้าที่ของผู้ขายในอันที่จะจัดการเพื่อส่งออกด้วย (เช่น ขอใบอนุญาต ในกรณีที่ต้องมีใบอนุญาตส่งออก รวมทั้งผ่านพิธีการศุลกากร) Terms นี้ จะใช้สำหรับการขนส่งทุกชนิด ทั้งทางบกหรือและอากาศ รวมทั้งการขนส่งหลายรูปแบบ โดยเฉพาะทางเรือจะเกี่ยวเนื่องกับการส่งของโดย container ด้วยวิธีที่เรียกว่า RO-RO ( roll on – roll off ) ไม่มีการยกสินค้าขึ้นเรือโดยใช้ปั้นจั่น แต่เป็นการขนส่งสินค้าไปถึงจุดรับสินค้าของผู้รับขนส่ง เช่น CFS ถ้าการส่งมอบสินค้ากระทำที่สถานที่ของผู้ขายเอง ผู้ขายต้องรับผิดชอบในการเอาของขึ้นบรรทุกยานพาหนะที่มารับด้วย แต่ถ้าการส่งมอบกระทำ ณ สถานที่อื่น ผู้ขายจะไม่ต้องรับผิดชอบในการนำของลงจากยานพานะที่ใช้ขนสินค้าไป ฯลฯ

5.3 FAS ( .... ระบุท่าต้นทาง)

ผู้ขายส่งสินค้าให้ถึงข้างลำเรือที่ท่า หากเรือทอดสมออยู่กลางทะเลก็ต้องลำเลียงโดยเรือเล็กไปจนถึงข้างเรือใหญ่ กรณีนี้ ผู้ขายต้องจัดการส่งออกให้เรียบร้อย กล่าวคือทั้งเสียอากรขาออกและขอใบอนุญาตส่งออก ฯลฯ ซึ่งต่างกับ Incoterms 1990 ฉบับเดิมอย่างพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ เพราะตามฉบับที่แล้ว ผู้ซื้อต้องจัดการทำพิธีการส่งออกเอาเอง

5.4 FOB ( .... ระบุท่าต้นทาง)

ผู้ขายส่งสินค้าให้ถึงบนเรือ และความเสี่ยงจะเปลี่ยนข้างจากผู้ขายไปตกอยู่กับผู้ซื้อตั้งแต่วินาทีที่สินค้าถูกยกข้ามพ้นกราบเรือ (ship's rail) ไปเหนือลำเรือแล้ว ภาระในการส่งออก (เช่น การขอใบอนุญาต การชำระค่าอากรขาออก ฯลฯ) เป็นของผู้ขายที่จะต้องจัดการให้เสร็จสิ้น Terms นี้ใช้สำหรับการส่งของทางเรือแบบดั้งเดิม (conventional) โดยการยกสินค้าขึ้นเรือ หรือที่เรียกกันว่า LO-LO (Lift on – Lift off)

5.5 CFR ( .... ระบุท่าปลายทาง)

(โปรดสังเกตว่าเงื่อนไขนี้ เดิมใช้กันว่า C&F)

เช่นเดียวกันกับ FOB ข้างบน หากแต่ว่าผู้ขายต้องชำระค่าระวางในการขนส่งทางเรือด้วย มีข้อที่น่าสังเกตคือ ถึงแม้ผู้ขายจะต้องรับภาระเรื่องค่าระวางถึงปลายทางก็ตาม แต่ความเสี่ยงของฝ่ายผู้ขายนี้จะอยู่แค่กราบเรือที่ต้นทาง เหมือนกับกรณีของ FOB เท่านั้นเอง ว่าอีกอย่างหนึ่ง Cost (ค่าใช้จ่าย) ของผู้ขายไปถึงท่าปลายทาง (เสียค่าระวาง) แต่ Risk (ความเสี่ยง) ของผู้ขายจะสิ้นสุดที่กราบเรือเท่านั้นเอง ถ้าเป็นการส่งสินค้าโดยมิได้มียกของข้ามกราบเรือ จะต้องใช้เงื่อนไข CPT ซึ่งจะกล่าวต่อไป

5.6 CIF ( .... ระบุท่าปลายทาง)

เช่นเดียวกับ CFR ทุกประการ เพียงแต่เพิ่มให้ผู้ขายต้องจัดการเอาประกันภัยให้กับสินค้าที่ขนส่ง ด้วยการชำระเบี้ยประกันจนถึงปลายทางด้วยเท่านั้น และต้องไม่ลืมว่าความเสี่ยงของผู้ขายจะมีถึงจุดเหนือกราบเรือ เช่นเดียวกับเงื่อนไข FOB หรือ CFR เท่านั้น เลยไปแล้วเป็นเรื่องของผู้ซื้อ

5.7 CPT ( .... ระบุท่าปลายทาง)

เป็น term ใหม่ ใช้มาตั้งแต่ Incoterms 1990 สำหรับการขนส่งทุกรูปแบบ รวมทั้ง multimodal transport ด้วย มีความหมายใกล้เคียงกันกับ CFR ซึ่งให้ใช้แต่เฉพาะการขนส่งทางเรือนั่นเอง แต่สำหรับเงื่อนไข CPT นี้ ผู้ขายต้องส่งมอบสินค้าให้กับผู้รับขนส่ง (Carrier) ณ สถานที่รับของ ไม่ต้องส่งของขึ้นเรือ

5.8 CIP ( .... ระบุท่าปลายทาง)

เช่นเดียวกับ CPT ทุกประการ แต่เพิ่มภาระให้ผู้ขายต้องเอาประกันภัยด้วย ถ้าจะว่าไปแล้ว ความหมายของ CIP ก็ใกล้เคียงกับ CIF จะต่างกันก็ตรงที่ CIP ใช้ได้กับการขนส่งทุกรูปแบบ ตลอดจน multimodal transport แต่ CIF ใช้กับการขนส่งทางเรือเท่านั้น

5.9 DAF ( .... ระบุสถานที่)

สำหรับ การขนส่งสินค้าโดยผู้ขายไปจนถึงพรมแดนของประเทศโดยผ่านด่านศุลกากรขาออกของ ประเทศผู้ขายไปแล้ว แต่ยังไม่ผ่านด่านศุลกากรขาเข้าของประเทศผู้ซื้อ ค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงเป็นของผู้ขายไปถึงจุดที่ว่านั้น ณ พรมแดน ทั้งนี้ เว้นจะตกลงกันเป็นอย่างอื่น

5.10 DES ( .... ระบุท่าปลายทาง)

ผู้ขายต้องรับภาระค่าใช้จ่ายและความเสี่ยง จนกระทั่งเรือไปถึงและเทียบท่าปลายทางความรับผิดชอบนี้จะจำกัดอยู่แค่นั้น โดยสินค้ายังอยู่บนเรือ สำหรับการขนของลงจากเรือและค่าใช้จ่ายตลอดจนความเสี่ยงอื่น ๆ ที่ตามมา เป็นเรื่องของผู้ซื้อแต่ลำพังเพียงผู้เดียว

5.11 DEQ ( .... ระบุท่าปลายทาง)

เหมือนกันกับ DES ข้างบน หากแต่ผู้ขายต้องขนส่งสินค้าลงที่หน้าท่าให้ด้วย ต่อจากนั้นจึงเป็นภาระของผู้ซื้อ ค่าอากรขาเข้าและภาระในการขอใบอนุญาตนำเข้า (ถ้าจำเป็นต้องมี) ผู้ซื้อต้องจัดการเอง เงื่อนไขนี้ เดิมใน Incoterms 1990 ผู้ขายหรือผู้ซื้อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะจ่ายก็ได้ แล้วแต่จะตกลงกัน (แต่ปกติแล้วผู้ขายต้องจ่าย) คราวนี้เปลี่ยนเป็นให้ผู้ซื้อจ่ายอย่างเดียว

5.12 DDU ( .... ระบุสถานที่ปลายทาง)

ผู้ขายจะต้องขนส่งสินค้าไปจนถึงสถานที่ที่ผู้ซื้อกำหนดในประเทศปลายทาง เช่นให้ส่งที่คลังสินค้าของผู้ซื้อไม่ว่าจะตั้งอยู่ที่ไหน ในประเทศปลายทางดังกล่าว แต่ถ้าตกลงกันว่าให้ส่งมอบสินค้าในบริเวณท่าเรือปลายทางก็ควรใช้เงื่อนไข DES หรือ DEQ แทน ในการนี้ผู้ขายจะจัดการขนส่งสินค้าไปจนถึงสถานที่ที่จะส่งมอบ แต่เป็นหน้าที่ของผู้ซื้อที่จะต้องจัดการขนสินค้าดังกล่าวลงจากยานพาหนะที่ไปส่งสินค้าเอง อย่างไรก็ตาม ทางฝ่ายผู้ซื้อต้องชำระค่าอากรขาเข้าตลอดจนภาษีอื่น ๆ ของประเทศที่นำสินค้าเข้าเองด้วย

5.13 DDP ( .... ระบุสถานที่ปลายทาง)

ผู้ขายต้องรับภาระสูงสุด (และราคาก็สูงสุดเหมือนกัน)เพราะฝ่ายผู้ซื้อไม่ต้องทำอะไรและไม่ต้องจ่ายค่าอากรขาเข้าด้วย เป็นหน้าที่ของผู้ขายที่จะต้องเหมาหมด การขนสินค้าลงจากยานพาหนะที่ไปส่งก็เป็นหน้าที่ของผู้ซื้อเช่นเดียวกันกับภายใต้เงื่อนไข DDUและถ้าตกลงจะส่งมอบกันในบริเวณท่าเรือ ก็ให้ใช้เงื่อนไข DES หรือ DEQ แทนเหมือนกันกับกรณี DDU ที่กล่าวแล้ว ภายใต้เงื่อนไข DDP นี้ ราคาสินค้าต่อหน่วยจะแพงที่สุด เพราะผู้ขายต้องรับภาระทุกอย่าง

ที่มา http://www.bangkokbiznews.com

http://www.panyathai.or.th
http://www.shipping2000.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น