ตั๋วแลกเงิน (Bill of exchange) คือ ตราสารการเงินระยะสั้น ที่บุคคลรายหนึ่งสั่งให้บุคคลอีกรายหนึ่ง จ่ายเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ในตั๋วแลกเงินนั้น ให้แก่บุคคลอีกรายหนึ่ง ในวันที่กำหนดบนหน้าตั๋วแลกเงินนั้น ตั๋วแลกเงินสามารถซื้อขายเปลี่ยนมือได้ในตลาดเงิน (money market) ส่วนใหญ่จะมีธนาคารหรือสถาบันการเงินค้ำประกัน หรือรับรอง หรือรับอาวัล หรือสลักหลังอย่างไม่มีเงื่อนไข ตั๋วเงินชนิดหนึ่งเป็นตราสารแสดงสิทธิในหนี้ มักใช้ในการซื้อขายสินค้าหรือกู้ยืมระยะสั้นจากธนาคาร โดยทั่วไปสามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนได้
การออกตั๋วแลกเงิน
แนวคิด
1. ตั๋วแลกเงินต้องมีรายการได้แก่ (1) คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วแลกเงิน (2) คำสั่งอันปราศจากเงื่อนไขให้จ่ายเงินเป็นจำนวนแน่นอน (3) ชื่อหรือยี่ห้อผู้จ่าย (4) ชื่อหรือยี่ห้อผู้รับเงิน หรือคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ และ (5) ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย หากรายการดังกล่าวขาดตกบกพร่องไป ย่อมไม่สมบูรณ์เป็นตั๋วแลกเงิน
2. วันถึงกำหนดของตั๋วแลกเงินก็คือ วันถึงกำหนดใช้เงินตามตั๋ว ซึ่งแยกได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ (1) ตั๋วแลกเงินที่สั่งให้ใช้เงินเมื่อทวงถามหรือเมื่อได้เห็น (2) ตั๋วแลกเงินที่กำหนดเวลาให้ใช้เงิน
3. ความรับผิดของผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังตั๋วแลกเงินเกิดขึ้นโดยเงื่อนไขว่า ผู้ทรงต้องยื่นตั๋วต่อผู้จ่ายก่อน ถ้าผู้จ่ายไม่รับรองหรือไม่จ่ายเงินและผู้ทรงจัดให้ทำคำคัดค้านแล้วผู้สั่ง จ่ายหรือผู้สลักหลังจะใช้เงินแก่ผู้ทรง
4. ข้อกำหนดลบล้างหรือจำกัดความรับผิดและข้อกำหนดลดหน้าที่ของผู้สั่งจ่ายและ ผู้สลักหลังตั๋วแลกเงินแยกได้ 2 ประการ ได้แก่ (1) ข้อกำหนดลบล้างหรือจำกัดความรับผิดของผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังที่มีต่อ ผู้ทรง (2) ข้อกำหนดลดหน้าที่ของผู้ทรงที่มีต่อผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลัง
รายการในตั๋วแลกเงิน
ตั๋วแลกเงิน หมายถึง หนังสือตราซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า “ผู้สั่งจ่าย” สั่งบุคคลอีกคนหนึ่งที่เรียกว่า “ผู้จ่าย” ให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลคนหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า “ผู้รับเงิน” ตั๋วแลกเงินจึงเป็นคำสั่งให้จ่ายเงินนั่นเอง
อนุมาตรา (1) คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วแลกเงิน
คำบอกชื่อว่าตั๋วแลกเงินมีความหมายสำคัญเพื่อให้บุคคลที่ เกี่ยวข้องรู้เห็นทราบได้ทันทีว่าตราสารนั้นเป็นตราสารพิเศษ และเนื่องจากเมื่อตราประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ขึ้น ตั๋วเงินเป็นของใหม่ไม่สู้แพร่หลาย จึงต้องบัญญัติให้ระบุลงไปในตั๋วให้ชัดแจ้งว่าเป็นตั๋วแลกเงิน ประกอบกับ Uniform Law (1930) ซึ่งเราอาศัยเป็นหลักในการร่างกฎหมายลักษณะตั๋วเงิน
สำหรับตั๋วแลกเงินมาจากต่างประเทศ อาจไม่มีคำว่า ตั๋วแลกเงิน (Bill of Exchange) เพราะบางประเทศ กฎหมายของเขาไม่บังคับให้ต้องระบุดังในมาตรา 909 (1) อย่างไรก็ดี คำบอกชื่อว่าตั๋วแลกเงินไม่จำเป็นต้องเขียนที่หัวกระดาษ อาจเป็นข้อความในตั๋วเงินว่า first of exchange ก็ได้
อนุมาตรา (2) คำสั่งอันปราศจากเงื่อนไขให้จ่ายเงินเป็นจำนวนแน่นอน
รายการนี้เป็นข้อบังคับเด็ดขาด ถ้าขาดไปจะไม่สมบูรณ์เป็นตั๋วแลกเงิน (มาตรา 910) ตามรูปตัวอย่างตั๋วแลกเงินคือ “โปรดจ่ายเงินจำนวนหนึ่งหมื่นบาท” ถ้าไม่กรอกจำนวนเงินเสียเลยหรือกรอกจำนวนเงินมิได้เป็นไปตามที่ผู้สั่งจ่าย ขอร้อง ตั๋วแลกเงินนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ อธิบายแยกได้เป็น 3 หัวข้อ คือ
ก. คำสั่ง หมายความว่า เป็นคำบงการหรือคำบอก เพื่อให้ทำหรือให้ปฏิบัติโดยไม่ให้โอกาสเลือกทำหรือเลือกปฏิบัติของผู้รับคำ สั่งและมิใช่เพียงแต่คำขอร้องหรือคำอ้อนวอนที่ผู้รับคำขอร้องหรือคำอ้อนวอน จะทำตามหรือไม่ก็ได้ อย่างไรก็ดี “คำสั่ง” ก็ไม่จำต้องเขียนลงไปในตัวแลกเงินตรงๆ ว่า “ข้าพเจ้ามีคำสั่งให้จ่ายเงิน” เพราะอาจใช้ถ้อยคำสุภาพลงไปในคำสั่งนั้นได้ เช่น “โปรดจ่ายเงิน” ซึ่งจะไม่ทำให้ตั๋วแลกเงินฉบับนั้นเสียไปเพราะมีความหมายเป็นข้อความกำหนด ให้จ่ายเงินโดยผู้จ่ายไม่มีโอกาสเลือกจ่ายหรือไม่จ่ายตามอัธยาศัยของผู้จ่าย เช่นเดียวกัน
ข. อันปราศจากเงื่อนไข หมายความว่า ลักษณะสำคัญที่สุดของตั๋วแลกเงิน คือ ความแน่นอนที่ตั๋วแลกเงินจะต้องได้รับการจ่ายเงินตามตั๋วนั้น จะมีเงื่อนไขในการคำสั่งให้จ่ายเงิน ตั๋วแลกเงินนั้นย่อมเกิดความไม่แน่นอนขึ้น คำว่าเงื่อนไข หมายความว่า เหตุการณ์อันใดอันหนึ่งที่เกิดขึ้นในอนาคตและไม่แน่นอน (เทียบมาตรา 182 เติมมาตรา 144) จึงต่างกับเงื่อนเวลา ซึ่งจะต้องมาถึงในอนาคตอย่างแน่นอน ดั้งนั้น ข้อความในคำสั่งให้จ่ายเงินจะเป็นเงื่อนไขหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงความแน่นอนหรือไม่แน่นอนของเหตุการณ์ที่กำหนดไว้ในคำสั่งนั่น เอง
ค. ให้จ่ายเงินเป็นจำนวนแน่นอน หมายความว่า คำสั่งในตั๋วแลกเงินต้องเป็นคำสั่งจ่ายเงินถ้าเป็นคำสั่งให้กระทำการอย่าง อื่นนอกจากเงินแล้วจะไม่ใช่ตั๋วแลกเงิน แต่ถ้ามีคำสั่งว่าให้จ่ายเงินและสิ่งของอื่นควบไปด้วย คงมีผลเฉพาะคำสั่งให้จ่ายเงินเท่านั้น ส่วนคำสั่งที่ให้จ่ายสินค้าที่ระบุไว้ ย่อมไม่มีผลแก่ตั๋วแลกเงิน (มาตรา 899) และถ้ามีคำสั่งให้ผู้รับตั๋วแลกเงินเลือกเอาว่าจะรับเงินหรือรับสิ่งของอื่น แทน ดังนี้น่าจะทำไม่ได้ เพราะจะกลายเป็นคำสั่งที่ไม่แน่นอน คำว่า “เงิน” หมายถึง เงินตราที่ชำระหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติเงินตรา ตั๋วแลกเงินโดยมากใช้ในระหว่างประเทศ ดังนั้น จึงสั่งจ่ายเป็นเงินตราต่างประเทศก็ได้ (มาตรา 196) คำว่า “เงินจำนวนแน่นอน” หมายความว่า ต้องเป็นเงินจำนวนที่เที่ยงแท้ไม่อาจเปลี่ยนแปลงไปทางเพิ่มหรือทางลดลงได้
อนุมาตรา (3) ชื่อหรือยี่ห้อผู้จ่าย
รายการข้อนี้บังคับเด็ดขาด ถ้าขาดตกบกพร่องให้ถือว่าไม่เป็นตั๋วแลกเงิน (มาตรา 910)
ผู้จ่าย คือ ผู้รับคำสั่งให้ใช้เงินตามตั๋วแลกเงิน จึงจำเป็นที่ผู้สั่งจ่ายต้องระบุชื่อผู้จ่ายไว้ในตั๋วแลกเงิน ผู้จ่ายอาจเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ และอาจเป็นบุคคลเดียวหรือหลายคนร่วมกันจ่ายเงินก็ได้ เว้นแต่คำสั่งให้บุคคลหลายคนจ่ายเงินเรียงตามลำดับก่อนหลังโดยไม่ระบุให้รับ ผิดร่วมกัน หรือคำสั่งให้เลือกผู้จ่ายจากบุคคลหนึ่งบุคคลใดในหลายคนที่ระบุโดยไม่ระบุ ให้บุคคลเหล่านั้นต้องรับผิดร่วมกันจ่ายเงิน ย่อมทำให้ไม่ทราบตัวผู้จ่ายที่แน่นอนทำให้ตั๋วแลกเงินนั้นเสียไป
การระบุชื่อจ่าย อาจระบุเพียงตำบลที่อยู่ซึ่งเข้าใจกันก็ได้ การระบุชื่อผู้จ่ายที่ไม่มีตัวตนหรือสมมติขึ้น ก็ไม่ทำให้ตั๋วแลกเงินเสียไป เพราะมีรายการชื่อผู้จ่ายแล้ว และตั๋วแลกเงินไม่มีตัวผู้จ่าย ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดต่อผู้ทรง ส่วนยี่ห้อเป็นชื่อที่บุคคลใช้ในการค้า ไม่เป็นนิติบุคคล การระบุยี่ห้อเป็นผู้จ่ายต้องเข้าใจว่าหมายถึงบุคคลใด ถ้าไม่อาจทราบได้ ก็เท่ากับไม่มีตัวผู้จ่าย ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดต่อผู้ทรง ผู้จ่ายอาจเป็นบุคคลเดียวกันกับผู้สั่งจ่ายตามที่ มาตรา 912 วรรคสอง บัญญัติว่า “ตั๋วแลกเงินจะสั่งจ่ายเอาจากตัวผู้สั่งจ่ายเองก็ได้”
อนุมาตรา (4) วันถึงกำหนดใช้เงิน
วันถึงกำหนดใช้เงิน ย่อมเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ คือ
1. ในวันใดวันหนึ่งที่กำหนดไว้
2. เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่วันที่ลงในตั๋วนั้น
3. เมื่อทวงถามหรือเมื่อได้เห็น
4. เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่ได้เห็น
รายการนี้ถ้าไม่ระบุไว้ ไม่ทำให้ตั๋วแลกเงินเสียไป แต่กฎหมายให้ถือว่าพึงใช้เงินเมื่อได้เห็น (มาตรา 910 วรรคสอง)
อนุมาตรา (5) สถานที่ใช้เงิน
สถานที่ใช้เงินนั้น ตามความคิดธรรมดาที่ระบุไว้ก็เพื่อผู้ทรงจะได้รู้ตำแหน่งแห่งที่ในการที่จะ เอาตั๋วไปขึ้นเงิน แต่ในกฎหมายตั๋วเงินนั้น ผู้จ่ายยังมิได้เข้าเป็นคู่สัญญาในตั๋วแลกเงิน สถานที่ใช้เงินจึงมีความสำคัญที่ผู้ทรงจะยื่นตั๋วแลกเงินเพื่อให้ผู้จ่าย รับรองหรือเพื่อเรียกร้องให้ผู้จ่ายใช้เงิน ณ ที่ใดตามที่กำหนดไว้ในตั๋วแลกเงินนั้น ถ้าไม่มีสถานที่ใช้เงินตามที่ระบุผู้ทรงต้องทำการคัดค้านไว้ (ม. 962) จึงจะไม่เสียสิทธิไล่เบี้ย (ม. 973) กรณีที่ไม่ได้แถลงไว้ในตั๋วแลกเงิน มาตรา 910 วรรคสาม “ท่านให้ถือเอาภูมิลำเนาผู้จ่ายเป็นสถานที่ใช้เงิน”
อนุมาตรา (6) ชื่อหรือยี่ห้อผู้รับเงินหรือคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ
รายการข้อนี้บังคับเด็ดขาด ถ้าขาดตกบกพร่องไปย่อมไม่สมบูรณ์เป็นตั๋วแลกเงิน ความสำคัญของชื่อหรือยี่ห้อผู้รับเงินคือ ทำให้ผู้จ่ายทราบว่าจะจ่ายเงินให้แก่ใคร จะเป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาก็ได้ จะเป็นชื่อจริงหรือชื่อสมมุติ หรือตำแหน่งก็ได้ (ถ้าเป็นชื่อสมมุติและไม่มีตัวจริง กฎหมายอังกฤษให้จ่ายแก่ผู้ถือ แต่ของไทยไม่ได้ใช้อย่างนั้น)
อนุมาตรา (7) วันและสถานที่ออกตั๋วเงิน
ก. วันออกตั๋วเงิน หมายความถึงวันที่ระบุในตั๋วเงินนั้นได้ออกเมื่อใด ซึ่งกฎหมายไม่ได้ระบุว่าต้องใช้ “ตามวันแห่งปฏิทิน” ดังนั้นอาจระบุอย่างอื่นได้ เช่น วันเข้าพรรษา ปี 2537 หรือ วันเฉลิมพระชนมพรรษา ปี 2538 เป็นต้น ความสำคัญ คือ
1) แสดงให้รู้กำหนดอายุของตั๋วเงิน ตามชนิดต่าง ๆ เช่น ชนิดใช้เงินเมื่อเห็น หรือ เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่ได้เห็นว่า ผู้ทรงต้องนำตั๋วยื่นให้ผู้จ่ายใช้เงินหรือรับรองภายในกำหนด
2) ตั๋วเงินชนิดที่ให้ใช้เงินเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่วันที่ลงใน ตั๋วเงินนั้น วันออกตั๋วเงินมีความสำคัญที่จะต้องระบุไว้ในตั๋วนั้น
3) ต้องใช้ในการคำนวณดอกเบี้ย
- บุคคลที่จะลงวันออกตั๋วเงิน มีได้ 2 คน คือ (1) ผู้สั่งจ่าย (2) ผู้ทรง
1) กรณีผู้สั่งจ่ายเป็นผู้ลงวันออกตั๋วเงิน : ผู้สั่งจ่ายสามารถตั้งใจลงวันให้ผิดความจริงได้ คือ ลงวันย้อนต้น ลงวันถัดไป หรือ ลงวันล่วงหน้า ก็ได้
2) กรณีผู้ทรงเป็นผู้ลงวันออกตั๋วเงิน : ม. 910 วรรคห้า “ถ้ามิได้ลงวันออกตั๋ว ท่านว่าผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายคนหนึ่งคนใดทำการโดยสุจริตจะจดวันตามที่ถูก ต้องแท้จริงลงก็ได้” และ มาตรา 932 วรรคแรก “ตั๋วแลกเงินฉบับใดเขียนสั่งให้ใช้เงินในกำหนดระยะเวลาอย่างใดอย่างหนึ่งนับ แต่วันที่ลงในตั๋วเงินนั้น แต่หากมิได้ลงวันไว้ ฯลฯ ท่านว่าผู้ทรงจะจดวันออกตั๋ว ฯลฯ ลงตามที่แท้จริงก็ได้ แล้วพึงให้ใช้เงินตามนั้น” หมายความว่า ในกรณีที่ผู้สั่งจ่ายมิได้ลงวันออกตั๋วเงินไว้เลย ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายหรือผู้ทำการแทนผู้ทรงโดยชอบย่อมมีสิทธิที่จะจดวัน ออกตั๋วได้ แต่ต้องเป็นการจดวันตามที่ถูกต้องแท้จริงและการจดวันนั้นต้องจดโดยสุจริต คือ จดตามวันที่ผู้ทรงเชื่อหรือเข้าใจว่าเป็นวันที่ถูกต้องนั่นเอง
ถ้าผู้ทรงจดวันลงไปไม่ตรงตามที่เป็นจริง ที่เรียกว่า ลงวันคลาดเคลื่อนหรือลงวันผิดนั้น ไม่ว่าผู้ทรงจะสุจริตหรือไม่สุจริตก็ตาม ถ้าตั๋วเงินนั้นโอนต่อไปยังผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายคนถัดไปแล้ว ก็ต้องบังคับตาม ม. 932 วรรคสอง “อนึ่ง ท่านบัญญัติไว้ว่า ในกรณีที่ผู้ทรงทำการโดยสุจริตแต่ลงวันคลาดเคลื่อนไปด้วยสำคัญผิดและในกรณี ลงวันผิดทุกสถาน หากว่าในภายหลังตั๋วเงินนั้นตกไปยังมือผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ท่านให้คงเป็นตั๋วเงินที่ใช้ได้และพึงใช้เงินกันเหมือนดั่งว่าวันที่ได้จดลง นั้นเป็นวันที่ถูกต้องแท้จริง” ที่กล่าวมาในข้อ 2 นี้เป็นกรณีที่ผู้สั่งจ่ายไม่ได้ลงวันออกตั๋วไว้เลย
ข. สถานที่ออกตั๋วเงิน รายการนี้ไม่บังคับเด็ดขาด ม. 910 วรรคสี่ “ถ้าตั๋วแลกเงินไม่แสดงให้ปรากฏสถานที่ออกตั๋ว ท่านให้ถือว่าตั๋วเงินนั้นได้ออก ณ ภูมิลำเนาของผู้สั่งจ่าย”
ความสำคัญคือ เพื่อให้รู้ว่าเป็นตั๋วเงินภายในประเทศหรือตั๋วเงินออกมาแต่ต่างประเทศ และให้รู้ที่อยู่ผู้สั่งจ่ายในกรณีตั๋วเงินขาดความเชื่อถือโดยผู้จ่ายไม่ รับรองหรือไม่ยอมใช้เงิน ผู้ทรงจะได้หาตัวผู้สั่งจ่ายพบ หรือจะได้ส่งคำบอกกล่าวได้ (ม. 963)
อนุมาตรา (8) ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย
รายการนี้บังคับเด็ดขาด ถ้าขาดย่อมไม่สมบูรณ์เป็นตั๋วแลกเงิน (ม. 910)
ม. 9 “เมื่อมีกิจการอันใดซึ่งกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือบุคคลผู้จะต้องทำ หนังสือไม่จำเป็นต้องเขียนเอง แต่หนังสือนั้นต้องลงลายมือชื่อของบุคคลนั้น”
ม. 900 วรรคสอง “ถ้าลงเพียงแต่เครื่องหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น แกงได หรือลายพิมพ์นิ้วมือ อ้างเอาเป็นลายมือชื่อในตั๋วเงินไซร้ ถึงแม้ว่าจะมีพยานลงชื่อรับรองก็ตาม ท่านว่าหาให้ผลเป็นลงลายมือชื่อในตั๋วเงินไม่”
9.1.2 วันถึงกำหนดของตั๋วแลกเงิน
วันถึงกำหนดของตั๋วแลกเงิน คือ วันถึงกำหนดใช้เงิน
ม. 913 “อันวันถึงกำหนดของตั๋วแลกเงินนั้นท่านว่าย่อมเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวต่อไปนี้ คือ
(1) ในวันใดวันหนึ่งที่กำหนดไว้ หรือ
(2) เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่วันที่ลงในตั๋วนั้น หรือ
(3) เมื่อทวงถามหรือเมื่อได้เห็น หรือ
(4) เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่ได้เห็น”แบ่งเป็น 2 ชนิด
ก. ตั๋วแลกเงินที่สั่งให้ใช้เงินเมื่อทวงถามหรือเมื่อได้เห็น (ตาม ม. 913 (3))
- ตั๋วที่ให้ใช้เงินเมื่อเห็น นั้นผู้ทรงต้องยื่นให้ใช้เงินภายในหกเดือน นับแต่วันที่ลงในตั๋วนั้น ม. 944, 928
- ตั๋วที่ให้ใช้เงินเมื่อทวงถาม นั้น ผู้ทรงยื่นตั๋วทวงถามให้ใช้เงินเมื่อใดผู้จ่ายต้องใช้เงินทันที ผู้ทรงเก็บตั๋วไว้ได้นาน อาจจะเป็นสิบปี ตามใดที่ไม่ทวงถาม กำหนดอายุความยังไม่มี อายุความยังไม่เริ่มนับตาม ม. 1001, 1002 นัย ฎ. 404/2515 เว้นแต่เช็ค ม. 990 “ผู้ทรงต้องยื่นเช็คต่อธนาคารเพื่อให้ใช้เงิน คือว่าถ้าเป็นเช็คให้ใช้เงินในเมืองเดียวกันกับที่ออกเช็คต้องยื่นภายใน เดือนหนึ่งนับแต่วันออกเช็คนั้น ถ้าเป็นเช็คให้ใช้เงินที่อื่นต้องยื่นภายในสามเดือน ถ้ามิฉะนั้น ท่านว่าผู้ทรงสิ้นสิทธิจะไล่เบี้ยเอาแก่ผู้สลักหลังทั้งปวง ทั้งเสียสิทธิอันมีต่อผู้สั่งจ่ายด้วย เพียงเท่าที่จะเกิดความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ผู้สั่งจ่ายเพราะการที่ ละเลยเสียไม่ยื่นเช็คนั้น”
ข. ตั๋วแลกเงินที่มีกำหนดเวลาให้ใช้เงิน (ตาม ม. 913 (1) (2) (4))แบ่งเป็น 3 ชนิด
(1) ตั๋วแลกเงินที่สั่งให้ใช้เงินในวันใดวันหนึ่งที่กำหนดไว้ (ตาม ม. 913 (1)) : ปกติจะกำหนดตามวันแห่งปฏิทิน แต่กฎหมายไม่ได้กฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ว่า “ตามวันแห่งปฏิทิน” จึงอาจกำหนดเป็นวันอื่นที่แน่นอนได้
(2) ตั๋วแลกเงินที่สั่งให้ใช้เงินเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่วันที่ลงในตั๋วนั้น ตาม ม. 913 (2)
(3) ตั๋วแลกเงินที่สั่งให้ใช้เงินเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่ได้เห็น ตาม ม. 913 (4) : ผู้ทรงต้องยื่นตั๋วให้เห็นก่อนจึงจะเริ่มนับวัน
ดราฟต์ (Demand Draft) คือตราสารทางการเงิน หรือ ตั๋วแลกเงินของธนาคาร ที่ธนาคารหรือสถาบันการเงินเป็นผู้ออกและสั่งให้ธนาคารตัวแทน (Correspondent Bank) หรือสาขาของตนในต่างประเทศจ่ายเงินจำนวนหนึ่งตามที่ระบุในดราฟต์ ให้แก่ผู้รับผลประโยชน์ที่มีชื่อระบุไว้บนดราฟต์
ตั๋วแลกเงินหรือดราฟต์ (Bill of Exchange or Drafts) ในกรณีนี้ผู้ออกตั๋วเป็นผู้สั่งให้อีกบุคคลหนึ่งจ่ายให้แก่ตน หรือจ่ายให้แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งตามคำสั่ง โดยที่ตั๋วแลกเงินนั้นก็คือ หนังสือตราสารซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าผู้สั่งจ่าย สั่งบุคคลหนึ่งซึ่งเรียกว่าผู้จ่ายให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลหนึ่งซึ่งเรียกว่าผู้รับเงิน ดังนั้น จะเห็นได้ว่าในกรณีตั๋วแลกเงินนั้นมีบุคคลเข้ามาเกี่ยวข้องถึงสามฝ่ายด้วย กันคือ ผู้สั่งจ่าย (Drawer) ผู้รับคำสั่งให้จ่ายหรือผู้จ่าย (Drawee) และผู้รับเงิน (Payee ) แต่ในบางกรณีอาจจะมีเพียงสองฝ่ายก็ได้ คือ ผู้สั่งจ่ายและผู้รับเงินเป็นบุคคลเดียวกัน
ตั๋วแลกเงินแบ่งออกได้เป็นสองประเภท คือ ตั๋วแลกเงินภายในประเทศ และตั๋วแลกเงินต่างประเทศ สำหรับตั๋วแลกเงินต่างประเทศ ตั๋วแลกเงินจะบังคับได้ในกรณีผู้ถูกสั่งให้จ่ายหรือผู้จ่ายต้องได้มีการ รับรองการจ่ายเงิน (Accepted) บนหนังสือตราสารนั้น
ตั๋วแลกเงินสามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
(1) แยกตามลักษณะของผู้จ่ายเงิน (Drawee) ในกรณีที่สั่งให้ธนาคารเป็นผู้จ่ายเรียกว่า ตั๋วแลกเงินธนาคาร (Bank Draft หรือ Sight Bill) ตั๋วแลกเงินที่มีกำหนดเวลา (Time Bill) คือ ตั๋วแลกเงินที่มีการตกลงร่วมกันระหว่างผู้จ่ายและผู้รับ ว่าจะมีการชำระหรือเบิกถอนหลังจากผู้รับได้รับตั๋วแลกเงินแล้วเป็นเวลากี่ วัน
(2) เช็ค (Cheque) ก็เป็นตั๋วแลกเงินลักษณะหนึ่ง แต่ผู้จ่ายเงินเป็นธุรกิจของสถาบันการเงินรูปหนึ่งที่เรียกว่า ธนาคาร ซึ่งเช็คก็คือหนังสือตราสารซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าผู้สั่งจ่าย สั่งธนาคารให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อทวงถามให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งอันเรียกว่าผู้รับเงิน
สั่งธนาคารให้ใช้เงินจำนวนหนึ่ง เมื่อทวงถามให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง
หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า “ผู้รับเงิน”
ประเภทของเช็ค ซึ่งมีหลายประเภท ดังต่อไปนี้ คือ
1. เช็คเงินสด หรือผู้ถือ (Cash or Bearer’s cheque)
ผู้มีเช็คชนิดนี้จะนำเช็คไปเบิกเงินสดจากธนาคารได้ทันทีถ้าไม่ต้องการเบิกเงินสด
ก็นำไปเข้าบัญชีเงินฝากของตนเอง ถ้าจะมีการโอนเช็คก็ไม่ต้องการสลักหลังก็ได้
2. เช็คระบุชื่อผู้รับเงิน (Order’scheque)
ถ้าผู้สั่งจ่ายระบุชื่อผู้รับเงินลงไปในเช็คผู้รับเงินจะต้องนำเช็คนั้นไปเบิกเงิน
จากธนาคารด้วยตนเองหรือถ้าจะโอนให้แก่ผู้อื่นจะต้องทำการสลักหลัง
โดยเซ็นชื่อลงบนด้านหลังเช็คนั้น
3. เช็คของธนาคาร (Cashier’s Cheque หรือ Treasurer’s Cheque)
เป็นเช็คที่ธนาคารออกให้แก่ลูกค้าที่นำเงินมาซื้อเช็คชนิดนี้จะมีลายเซ็น
ของพนักงานผู้มีอำนาจ ของธนาคารเซ็นรับรองเป็นเช็คที่ใช้ภายในท้องถิ่น
ของธนาคารนั้นจะไปใช้ ต่างท้องถิ่นต้องซื้อดร๊าฟไม่ใช่ชนิดนี้
4. เช็คที่ธนาคารรับ (Certified Cheque)
คือธนาคารจะรับรองเช็คชนิดนี้ในกรณีที่ผู้สั่งจ่ายมีเงินฝากอยู่ในธนาคาร
เพียงพอ ธนาคารจะรับรองว่า “ใช้ได้” “รับรอง” หรือ “Good”
พร้อมกับวันที่และลายเซ็นของ พนักงานผู้มีอำนาจของธนาคาร เช่น
ผู้จัดการธนาคาร
5. เคาน์เตอร์เช็ค (Counter Cheque)
หมายถึง เช็คของธนาคารในกรณีที่เจ้าของบัญชีเงินฝากลืมนำสมุดเช็คไปที่
ธนาคาร แต่ต้องการใช้เงินโดยกระทันหัน ธนาคารก็จะมีเช็คพิเศษให้เขียน
สั่งจ่ายเงินให้เช็คชนิดนี้ จะใช้ได้เฉพาะภายในธนาคารเท่านั้น จะโอนสลักหลัง
มอบให้แก่บุคคลอื่นไม่ได้
6. เช็คสำหรับผู้เดินทาง (Traveler’s Cheque)
เป็นตราสารชนิดหนึ่งที่สามารถอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ที่ต้องการเดินทาง
ไกล ๆ ทั้งในและต่างประเทศ โดยที่ไม่ต้องนำเงินสดติดตัวไปด้วยมาก ๆ
ซึ่งไม่ปลอดภัยการซื้อเช็คชนิดนี้ธนาคารพาณิชย์จะมีสิทธิให้ลูกค้าแลกซื้อได้
7. ดร๊าฟธนาคาร (Banks draft)
คือ คำสั่งของธนาคารหนึ่งสั่งไปยังธนาคารอีกแห่งหนึ่ง
(อาจจะเป็นธนาคารสาขาของตนเอง)ให้จ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้แก่บุคคลหนึ่ง
(ระบุของผู้รับเงินไว้บนดร๊าฟ) ดร๊าฟของธนาคารนี้สำหรับส่งเงินไปต่างท้องถิ่น
ทั้งภายใน และภายนอกประเทศซึ่งต่างกับ Cashier’s Cheque
การชำระเงินผ่านธนาคารที่ได้รับความนิยมและน่าเชื่อถือมีอยู่ 4 แบบคือ
1. การชำระเงินด้วย Letter of credit
1. การชำระเงินด้วย Letter of credit
การชำระค่าสินค้าด้วย Letter of credit นั้นหรือที่เรียกกันย่อ ๆ ว่า L/C เป็นการชำระค่าสินค้าผ่านธนาคารวิธีหนึ่ง ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ที่เป็นวิธีเดียวที่พอจะมีหลักประกันได้ว่า ผู้ขายสินค้าจะได้รับเงินค่าสินค้าเมื่อได้มอบสินค้าลงเรือ และผู้ซื้อจะได้รับสินค้าเมื่อจ่ายเงินแล้ว | |
L/C หรือ Letter of Credit หรือ Documentary Letter of credit หรือ Commercial Documentary letter of Credit คือ ตราสารทางการค้าซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์ตามคำสั่งของ ผู้ซื้อซึ่งเป็นลูกค้าของประเทศหนึ่ง เพื่อส่งไปให้ผู้รับประโยชน์ ซึ่งเป็นผู้ขายในอีกประเทศหนึ่ง โดยส่งผ่านธนาคารผู้รับ L/C ในประเทศของผู้ขายตราสารนี้เป็นคำรับรองหรือสัญญาหรือธนาคารผู้เปิด L/C ว่าจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งตามที่ระบุไว้ในL/C ให้แก่ผู้ขายสินค้าเมิ่ผู้ขายสินค้าได้ส่งสินค้าลงเรือ และได้แสดงเอกสารให้แก่ธนาคารผู้รับซื้อเอกสารและตั๋วเงิน ( Negotiation Bank ) ได้ครบถ้วนถูกต้องที่ระบุไว้ใน L/C ตลอดจนได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขต่าง ๆ และกรอบเวลาตามที่ระบุไว้ใน L/C ด้วย | |
2. การชำระเงินโดยวิธีเรียกเก็บผ่านธนาคาร Bill of collection
คือการเรียกเก็บเงินค่าสินค้าผ่านธนาคารซึ่งธนาคารผู้เรียกเก็บจะปฏิบัติตามคำสั่งของลูกค้าอย่างเคร่งครัด ซึ่งแบ่งได้ดังนี้ | |
D/P (Document Against Payment) คือการที่ผู้ขายสินค้าส่งเอกสารไปเรียกเก็บเงินค่าสินค้าที่ตนเองส่งออกไปให้แก่ผู้ซื้อ ผ่านธนาคารของผู้ขายไปยังธนาคารตัวแทนของผู้ซื้อเพื่อเรียกเก็บค่าสินค้าก่อนการส่งมอบเอกสาร | |
D/A (Document Against Acceptance) คือการที่ผู้ขายสินค้าส่งเอกสารไปให้แก ่ผู้ซื้อผ่านธนาคารของผู้ขายไปยังธนาคารตัวแทนในประเทศของผู้ซื้อเพื่อแจ้ง ให้ ผู้ซื้อนำไปออกของก่อนการชำระเงินและจะต้องกำหนดจำนวนวันจ่ายเงินด้วยเสมอ เช่น 30 วัน หรือ 60 วัน แล้วแต่จะตกลงกันเอง | |
3. การชำระเงินแบบ Open Account
คือการที่ผู้ขายสินค้าและผู้ซื้อสินค้าตกลงซื้อขายสินค้ากันโดยตรงโดยที่ ผู้ขายสินค้าจะส่งสินค้าไปให้ผู้ซื้อก่อนเมื่อผู้ซื้อรับสินค้าแล้วจึงไปติดต่อกับธนาคาร เพื่อโอนเงินค่าสินค้าให้แก่ผู้ขาย ตามระยะเวลาที่กำหนด หลังจากที่ได้รับสินค้าหรือเห็นเอกสาร ตามแต่จะตกลงกันแล้ว ซึ่งจะเป็นการโอนโดยทางตั๋วเงินหรือดราฟท์ การซื้อขายด้วยวิธีนี้ผู้ขายเป็นฝ่ายเสียเปรียบเพราะไม่มีหลักประกันว่าผู้ซื้อจะชำระค่าสินค้าให้แก่ผู้ขาย ธนาคารจะเข้ามาเกี่ยวข้องเมื่อมีการโอนเงินค่าสินค้าเท่านั้น | |
4. การชำระเงินแบบ Consignment
คือการที่ผู้คือการที่ผู้ขายสินค้า และผู้ซื้อสินค้าตกลงซื้อขายสินค้ากันโดยตรง โดยที่ผู้ขายสินค้าจะส่งสินค้าไปให้ ผู้ซื้อก่อนเมื่อผู้ซื้อขายสินค้าได้แล้ว จึงไปติดต่อธนาคารเพื่อโอนเงินค่าสินค้าให้แก่ผู้ขาย ซึ่งเป็นการโอนเงินโดยทางตั๋วเงิน หรือดราฟท์ การชำระเงินประเภทนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การฝากขาย แต่ก็ผู้ขายเป็นฝ่ายเสียเปรียบเช่นเดียวกัน Open Account เพราะไม่มีหลักประกันว่าผู้ซื้อจะชำระค่าสินค้าให้แก่ผู้ขาย ธนาคารจะเข้ามาเกี่ยวข้อง เมื่อมีการโอนเงินค่าสินค้าเท่านั้น | |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น